ตับคืออวัยวะที่อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม ถือเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่
- ทำลายสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่นยา หรือ เชื้อโรค
- สร้างสิ่งที่มีประโยชน์ เช่นการผลิตสารชีวเคมีต่างๆ ที่ช่วยในการย่อยอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
- ทำหน้าที่เป็นคลังสะสมอาหาร (เช่น ไขมัน แป้ง และ โปรตีน) และปล่อยมาใช้เมื่อร่างกายต้องการ
นอกจากนี้ตับยังถือเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายอีกด้วย มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมตาบอลิซึม(Metabolism) หลายอย่างในร่างกาย เช่น การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม และการผลิตฮอร์โมน เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับคือ
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือไวรัสตับอักเสบ ชนิด A ชนิด B และชนิด C
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- โรคอ้วน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด (เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาบางชนิดที่ใช้รักษาวัณโรค) หรือสารพิษบางชนิด (เช่น สมุนไพรบางชนิด หรือ เห็ดพิษ)
- การติดเชื้ออื่นๆ นอกเหนือจากเชื้อไวรัส เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อสัตว์เซลล์เดียว เช่น โรคพยาธิใบไม้ตับ และฝีในตับ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดที่เกิดจากท่อน้ำดี
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- พันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก และมักพบว่าเกิดตั้งแต่เป็นเด็ก เช่น โรค Hemo chromatosis (โรคที่มีธาตุเหล็กไปจับในตับมากเกินปกติจนเป็นสาเหตุให้ตับสูญเสียการทำงาน) เป็นต้น
- โรคมะเร็ง ทั้งชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และชนิดที่เกิดจากเซลล์ตับเอง แล้วแพร่กระจายตามกระแสเลือดมาสู่ตับ
ในประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับ ที่สำคัญที่สุด คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองลงไปคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
อาการของโรคตับ มีได้หลายอาการขึ้นกับสาเหตุ ได้แก่
- เจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือเจ็บ/ปวดบริเวณท้องด้านขวาตอนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ
- คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
- อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน)
- อุจจาระสีซีด ร่วมกับปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
- ท้องมาน หรือมีน้ำในท้อง มักพบร่วมกับอาการบวมที่เท้า
- ในรายที่เป็นมาก ลมหายใจอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ (กลิ่นของสารตกค้างในร่างกาย เช่น สารในกลุ่มที่เรียกว่า ketone) มีอาการ มือ เท้า กระตุก และมือสั่น มีอาการสับสน อารมณ์แปรปรวน
วิธีตรวจดูการทำงานของตับโดยแพทย์นั้น จะใช้การวินิจฉัยโรคของตับจาก ประวัติอาการเจ็บป่วยต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงประวัติการใช้ยาต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดที่เรียกว่า การตรวจ LFT (Liver function test) การตรวจอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- การตรวจวัดหาความผิดปกติของตับ โดยดูค่าการทำงานหรือค่าเอนไซม์(Enzyme ) ของตับ ได้แก่การวัดระดับเอนไซม์ AST (aspartate aminotransferase) และ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเดิมเรียกกันว่า SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transferase) และ SGPT (Serum Glutamic Pyruvate Transferase) เอนไซม์ 2 ตัวนี้จะมีระดับสูงขึ้นเมื่อเซลล์ตับถูกทำลายในภาวะตับเกิดอันตรายเฉียบพลัน เช่น โรคตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสระดับ ASTและ ALT จะสูงกว่าปกติเป็นร้อยหรืออาจสูงถึงพันหน่วย/ลิตรได้ (ค่าปกติประมาณ 40 หน่วย/ลิตร) ในโรคตับแข็ง หรือตับอักเสบเรื้อรัง ระดับเอนไซม์ 2 ตัวนี้จะไม่สูงมาก ประมาณ 2-3 เท่าของค่าปกติ และมักไม่สูงเกิน 100-300 หน่วย/ลิตร ระดับเอนไซม์ 2 ตัวนี้ มีประโยชน์ ในการติดตามผลการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส ระดับเอนไซม์ AST และ ALT อาจตรวจพบสูงกว่าปกติได้เล็กน้อย จากสาเหตุที่ไม่ใช่โรคตับ เช่น จากยาบางชนิดเป็นต้น
การตรวจวัดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่จริงๆ ของตับ
นิยมใช้ 2 วิธี ได้แก่
- การวัดระดับอัลบูมิน(albumin) ในเลือด (ค่าปกติ 5-5 กรัม/เดซิลิตร)
- การวัดเวลาการแข็งตัวของเลือด
อัลบูมิน(albumin) เป็นโปรตีนสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับ ดังนั้นถ้าระดับอัลบูมิน(albumin) ลดลงโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ขาดอาหาร ก็สามารถบ่งชี้ถึงสภาพหน้าที่ของตับที่เสื่อมลง ส่วนการวัดเวลาการแข็งตัวของเลือดนิยมเรียกกันว่า PT (Prothrombin time) คือส่วนประกอบที่เป็นโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวที่สร้างขึ้นโดยตับ ผู้ป่วยโรคตับที่ตับเสื่อมสภาพ การทำหน้าที่สร้างโปรตีนเหล่านี้จะลดลงทำให้เลือดที่ออกใช้เวลาแข็งตัวนานขึ้น
การตรวจเลือดดูหน้าที่ของตับอย่างอื่น ได้แก่บิลิรูบิน (Billirubin) เป็นสารสีเหลืองในน้ำดีซึ่งเมื่อมีระดับสูงในเลือดจะไปย้อมติดที่ผิวหนังและตาขาว เรียกว่าเกิดดีซ่าน บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดง เวลาเลือดไหลผ่านตับ ตับจะเก็บบิลิรูบินออกจากกระแสเลือด และขับออกทางน้ำดี เมื่อเป็นโรคของตับหรือทางเดินน้ำดี หรือเม็ดเลือดแดงแตก ถูกทำลายจำนวนมากก็จะเป็นผลให้ระดับบิลิรูบินเพิ่มสูงขึ้นในเลือด ระดับบิลิรูบินในเลือดเป็นตัวบ่งชี้ถึงหน้าที่ของตับที่ดี เมื่อตับเสื่อมความสามารถในการขับบิลิรูบินออกจากกระแสเลือดเพื่อขับออกสู่น้ำดีก็จะลดลง
ในโรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง (autoimmune hepatitis) พบได้จากการตรวจภูมิต่อนิวเคลียสเซลล์ หรือภูมิต่อกล้ามเนื้อเรียบและระดับโปรตีนชนิดโกลบูลินในเลือดสูง (globulin เฉพาะ gamma globulin นั้นมีบทบาทด้านภูมิคุ้มกันโรค ทำให้โปรตีนตัวนี้ได้ถูกตั้งชื่อใหม่เป็น immunoglobulin) ค่าโกลบูลินของคนปกติจะอยู่ที่ 2.3-3.4 กรัม/เดซิลิตร
นอกจากนี้ อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย สิ่งผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพตับด้วย อัลตราซาวด์(ultrasound) เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ(MRI) การฉีดสีตรวจทางเดินน้ำดีในตับ การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีในตับ และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคตับต่างๆ
ถั่งเช่าได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบและโรคที่เกี่ยวข้อง (Zhao 2000) การรักษาและการป้องกันโรคตับโดยถั่งเช่ามีหลายประการ คือ
ประการแรก ถั่งเช่ามีศักยภาพในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง (Gong และคณะ 2000) และจากโรคตับแข็งเรื้อรัง (Zhu และ Liu 1992)
ประการที่สอง ถั่งเช่าถูกนำมาทดสอบพบว่าสามารถยับยั้งและสลายไขมันพอกตับในหนูที่ถูกชักนำให้เป็นโรคตับแข็งโดยการให้ยา dime,ทิล.nitro,ซามิน (Li และคณะ 2006 a; Wang และคณะ 2008) โดยการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าถั่งเช่าสามารถยับยั้งการเพิ่มของสเตลเลตเซลล์ (stellate cell เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างพังผืดหรือเนื้อเยื่อระหว่างเซลล์ของตับ) (Chor และคณะ 2005) ลดการยึดเกาะของเซลล์ระหว่างโมเลกุลของพังผืด และ CD 126 (Classification Determinant : เป็นโปรโตคอลที่ใช้ตรวจสอบโมเลกุลเซลล์ผิวเพื่อทราบถึงภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงกับเป้าหมาย CD สำหรับมนุษย์จะมีหมายเลขสูงสุดที่ 364) ในเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของมนุษย์ (Li และ Tsim 2004) และลดการแสดงออกของ TGF-β (Transforming Growth Factor-β มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการไปกระตุ้น หรือยับยั้งการตอบสนองของเซลล์ต่างๆ ต่อสารกระตุ้นการเจริญชนิดอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการควบคุมการเปลี่ยนสภาพของเซลล์บางชนิดด้วย แต่หากเซลล์มีความผิดปกติเกิดขึ้น TGF-β ก็จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไปด้วยทำให้เซลล์ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุมของร่างกายจนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งในท้ายที่สุด) และลดการแสดงออกของ platelet-driven growth factor (โปรตีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์และการแบ่งเซลล์) (Liu และ Shen 2003)
ประการที่สาม ถั่งเช่าช่วยลดระดับของปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid oxidation คือ ปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างออกซิเจนกับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทำให้เกิดสารที่ให้กลิ่นและรสที่ผิดปกติเรียกว่า การหืน) ในเซรุ่มและเนื้อเยื่อตับ และลดเซรุ่ม TNF-α ในหนูที่ถูกทำให้บาดเจ็บที่ตับโดยใช้วัคซีน BCG (Bacillus calmette – Guerin) ร่วมกับ LPS (Lipo poly saccharide เป็น endo) (TNF-α : Tumor Necrosis Factor Alpha ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลายขบวนการ เช่น ภูมิคุ้มกัน การอักเสบเป็นต้น) (Zeng และคณะ 2001)
จากผลการศึกษาถั่งเช่ากับการทำงานของตับในเกือบทุกการทดลองพบว่า ถั่งเช่ามีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ในซีกโลกตะวันออกหลายประเทศรู้จักใช้ถั่งเช่าร่วมกับยา vu.dine, ลามิ ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิด B และชนิดC และในการศึกษาหนึ่งพบว่า การใช้สารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดจากเห็ดชนิดอื่นให้ผลการรักษาที่ดี คือใช้เวลาน้อยกว่าการใช้ยา vu.dine, ลามิ เพียงอย่างเดียว (Wang และคณะ 2002) นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองที่ยืนยันว่าถั่งเช่ามีผลดีกับคนไข้ 33 คนที่มีปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบชนิด B เรื้อรังในด้านการปรับเมแทบอลิซึมของโปรตีน (Zhou และคณะ 1990)
Zhu และ Liu (1992) พบว่าการรับประทานถั่งเช่าช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเพิ่มระดับน้ำเหลืองในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะสุดท้าย ช่วยทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ต่อมา Siu และคณะ (2004) ได้ทำการทดลองให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กินสารสกัดจากถั่งเช่า 200 พีพีเอ็ม/วัน (200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 Kg.ต่อวัน) พบว่าถั่งเช่าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในตับ เพิ่มการเผาผลาญพลังงานที่ตับ ช่วยกระตุ้นการขนส่งอิเล็กตรอนในการผลิตพลังงานในการศึกษาของ Dai และคณะ (2001) พบว่าถั่งเช่าช่วยเพิ่มศักยภาพในการย่อยสลายพลังงานชีวภาพในตับของหนูทดลอง จากการค้นพบนี้อาจจะอธิบายประสิทธิภาพของถั่งเช่าในการช่วยเพิ่มความทนทานของร่างกาย และการบรรเทาความเมื่อยล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น ต่อมา Koh และคณะ (2003b) รายงานว่าสารสกัดถั่งเช่าโดยน้ำร้อนช่วยให้หนูทดลองว่ายน้ำได้ทนทานขึ้นและป้องกันความอ่อนล้าของหนูทดลองได้ด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กิน Liu และ Shen (2003) ศึกษาพบว่าถั่งเช่าช่วยให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำโดยการใช้คาร์บอนเตตราคลอไรด์(carbon tetrachloride)และเอทานอล(Ethanol) ให้เป็นโรคตับแข็ง (เป็นภาวะซึ่งเป็นผลที่เกิดจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ อาจเกิดขึ้นจากไวรัส พิษสุราเรื้อรัง และไขมันพอกตับ) ผลปรากฏว่าหนูทดลองมีการพัฒนาเป็นตับแข็งช้าลง และการทำงานของตับดีขึ้นโดยยับยั้งการแสดงออกของทรานสฟอร์เมอร์โกรทแฟคเตอร์และโกรทแฟคเตอร์ที่ได้มาจากเกล็ดเลือด (หากโกรทแฟคเตอร์ของเซลล์ตับสูญเสียหน้าที่การทำงานจะทำให้เซลล์ตับไม่อยู่ในความควบคุมของร่างกายจนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งในที่สุด) และลดการสะสมของโพรคอลลาเจน ชนิดที่หนึ่งและสาม (procollagen I & III) ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ
ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : europeanpharmaceuticalreview.com
ปรึกษาขนาดการรับประทานถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย CORDYTHAI อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์