อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากมีสาเหตุจากออกซิเจน (ROS) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีทั้งสองบทบาทในระบบชีวภาพ เนื่องจากสามารถเป็นได้ทั้งคุณและโทษต่อสิ่งมีชีวิต (Valko และคณะ 2004) โดยปกติ ROS ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาผลาญออกซิเจนตามธรรมชาติ และมีบทบาททางสรีรวิทยาในการส่งสัญญาณของเซลล์สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant อนุมูลอิสระ (Free radicle) คือ โมเลกุลที่มีธาตุที่ไม่เสถียร เนื่องจากขาดอิเล็กตรอน ไป 1 ตัว อนุมูลอิสระจึงถือเป็นสารพิษต่อเซลล์ร่างกาย หากมีมากในเซลล์ก็จะเป็นอันตรายได้ โดยจะทําลาย DNA(ดีเอ็นเอ) เยื่อหุ้มเซลล์ ในระยะสั้น จะส่งผลต่อการอักเสบ และการทําลายเนื้อเยื่อ ส่วนในระยะยาวนั้น อาจส่งผลต่อความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง โรคหัวใจ และต้อกระจก เป็นต้น
อนุมูลอิสระที่มาจากแหล่งภายนอกร่างกาย ได้แก่ ไนตรัส โอโซน ออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ มลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ ฝุ่น ไขมันไม่อิ่มตัว อาหารที่มีธาตุเหล็ก หรือกรดมากกว่าปกติ ความร้อน แสงแดด รังสีแกมม่า ยาบางชนิด เช่น โดโซ, , เพนนิ,cilla.mine , rubi.ซิน และ para,เซตา.mol เป็นต้น
อนุมูลอิสระที่มาจากแหล่งภายในร่างกาย ได้แก่ ROS (Reactive oxygen species) ซึ่งมีต้นเหตุจากออกซิเจน เป็นต้น ตัวอย่างของอนุมูลอิสระได้แก่ OH-Hydroxyl radicle, O2-Superoxide anion, , H2O2 Hydrogen Peroxide, ROO Peroxy radicle ฯลฯ ร่างกายของคนเรามีกลไกที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระ (antioxidant) ได้ 2 วิธี ได้แก่
ใช้ เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายเช่น Superoxide dismultase (SOD)( (ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส)) และใช้สารที่มีคุณสมบัติเป็น
รีดิวซิ่งเอเจน(Reducing agent) ได้แก่ วิตามิน C วิตามินอี Beta Carotene ป็นต้น
ถั่งเช่าออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย มีสาเหตุจากออกซิเจน (ROS) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีทั้งสองบทบาทในระบบชีวภาพ เพราะสามารถเป็นได้ทั้งคุณและโทษต่อสิ่งมีชีวิต (Valko และคณะ 2004) โดยปกติแล้ว ROS ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาผลาญออกซิเจนตามธรรมชาติ และมีบทบาทสำคัญทางสรีรวิทยาในการส่งสัญญาณของเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของ ROS สามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่สิ่งแวดล้อมเกิดความเครียด เช่น การสัมผัสกับ UV (รังสีอัลตราไวโอเลต) หรือความร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไขมันโปรตีนและกรดนิวคลีอิกของเซลล์ โครงสร้างของเซลล์ ที่ได้รับความเสียหายเป็นมูลเหตุที่นําไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคปอดอักเสบ ความชรา ความผิดปกติที่มีการทําลายของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Rahman 2003; Zhong 2006; Valko และคณะ 2007) ได้มีผลงานวิจัยเพิ่มเติม พบว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในกลไกที่อยู่เบื้องหลังการชะลอความชรา ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ต้านการสะสมไขมันที่หลอดเลือด และปรับสมดุลการทํางานต่อภูมิคุ้มกัน (Ji และคณะ 2009)
ในการทดสอบ oxidase xanthine (xanthine oxidase assay ซึ่งเป็นการทดสอบความเข้มข้นของ uric acid ในกระแสเลือดโดยกลไกคือ xanthine oxidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ ทําหน้าที่เปลี่ยนจาก hypoxanthine เป็น xanthine และเปลี่ยนจาก xanthine เป็น uric acid เอนไซม์นี้ยังมีความสําคัญต่อการสลายสารอาหาร (catabolism) ของ purines ในสิ่งมีชีวิตบางชนิดรวมถึงมนุษย์) การเหนี่ยวนําเพื่อทำการทดสอบภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (induction of hemolysis assay) และทดสอบ lipid-peroxidation (lipid-peroxidation assay เป็นการตรวจวัดระดับของ MDA (malondialdehyde ) ซึ่งเป็นสารพิษที่ทําลายโครงสร้างรหัสพันธุกรรม และโปรตีน และยังจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง (Li และคณะ 2002) มีรายงานผลที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ไม่ว่าจะเป็น “สารสกัดถั่งเช่า” โดยใช้น้ำ (Li และคณะ 2001 ; Yu และคณะ 2006 ; Dong และ Yao 2008) หรือเอทธิลแอลกอฮอล์ (Wang และคณะ 2005 ; Won และ Park 2005 ; Ra และคณะ 2008) ต่างก็มีศักยภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สําคัญในการทดลองที่ได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามสารสกัดจากน้ำแสดงผลยับยั้งที่ดีกว่าสารสกัดจากเอทธิลแอลกอฮอล์ต่ออนุมูลอิสระ superoxide anions and hydroxyl radicals (Yamaguchi และคณะ 2000a) นอกจากนี้ทั้งถั่งเช่าจากการเพาะเลี้ยง และถั่งเช่าจากธรรมชาติ ต่างก็มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระโดยตรง จากการตรวจโดยใช้หลอดทดลอง เช่น การทดสอบ 1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH), lipid-peroxidation, 1, และการทดสอบ protein-peroxidation ดังนั้นถั่งเช่าจากการเพาะเลี้ยงจึงสามารถนํามาใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อทดแทนถั่งเช่าที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว (Li และคณะ 2001; Yu และคณะ 2006; Dong และ Yao 2008)
ถั่งเช่าออกฤทธิ์ในการต้านความชรา
ได้มีการทดสอบสรรพคุณของถั่งเช่าด้านการชะลอความชรา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นคนชรา พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระ SOD เพิ่มการทํางานขึ้น (Superoxide dismutase เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในร่างกายตั้งแต่แรกเกิด มีหน้าที่ช่วยกําจัดอนุมูลอิสระ และลดการเพิ่มขึ้นของสาร Malondialdehyde(MDA) ซึ่งเป็นสารพิษที่ทําลายโครงสร้างโปรตีนและรหัสพันธุกรรม ในขณะเดียวกันยังจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง ในการทดลองในหนูอีกด้วย แต่เมื่ออายุมากขึ้นเอนไซม์ดังกล่าวจะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ) ในการทดลองในสัตว์พบว่าถั่งเช่าสามารถซ่อมแซม DNA ที่เสียหายได้ด้วย (Zhang และคณะ 1997) ถั่งเช่าที่สกัดโดยใช้เอทธิลแอลกอฮอล์และน้ำสามารถยับยั้งการสร้าง MDA(Malondialdehyde) ผ่านอนุมูลไฮดรอกซิลที่เกิดจาก peroxynitrite SIN-1 และหยุดยั้งการเกิดออกซิเดชัน(oxidation) ของไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และการสะสมของคอเลสเตอรอล (Yamaguchi และคณะ 2000a,b) ต่อมา Tsai และคณะ (2001) ได้แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมต้านอนุมูลไฮดรอกซิลของสารสกัดถั่งเช่า (ออกซิเดชั่น – oxidation) เป็นปฏิกริยาของการสูญเสียหรือแย่งอิเล็กตรอนของเนื้อเยื่อหรือเซลล์เนื้อเยื่อทําให้เสื่อมสภาพไป)
เรียบเรียงโดย : ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย)