ร่างกายของคนเรานั้น แต่ละคนจะถ่ายปัสสาวะมากน้อยหรือบ่อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอุปนิสัยในการฝึกปัสสาวะ ปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไปในแต่ละวัน รวมถึงปริมาณน้ำที่สูญเสียไปทางเหงื่อและทางอุจจาระ ถ้าเหงื่อออกมาก หรือมีอาการท้องเสียถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ก็จะทำให้ปัสสาวะน้อยลงได้ อาการปัสสาวะบ่อยกว่าที่เคยเป็นอยู่ ในระยะเริ่มแรกอาการจะไม่เด่นชัดมากนัก หลายคนจึงไม่รู้สึกสัยว่าใช่อาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติหรือไม่
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าท่านมีอาการปัสสาวะบ่อยหรือไม่
ให้สังเกตจากการตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ซึ่งโดยปกติแล้วคนทั่วไปจะไม่ตื่นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน อาการปัสสาวะบ่อยเป็นอาการของโรคไตบางชนิด แต่ความจริงผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยอาจจะไม่ได้เป็นโรคไตก็ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุอื่นมากกว่า ที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเบาหวาน นอกจากนี้ก็มีโรคเบาจืด โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรืออาจเกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไป ดังนั้นหากท่านมีอาการปัสสาวะบ่อย หรือมีปริมาณมากกว่าวันละ 3 ลิตร หรือตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนหลายๆ ครั้ง ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดเพื่อทำการรักษาต่อไป
โดยปกติแล้วคนเราจะปัสสาวะตอนกลางวันประมาณ 3-5 ครั้ง จากตอนเย็นไปจนกระทั่งเข้านอน 1-2 ครั้ง
หากอายุยังน้อย ตอนกลางคืนอาจไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเลย หากเป็นผู้สูงอายุประมาณ 1-2 ครั้ง ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของคนปกติ
ปัสสาวะปกติ เมื่อเข้าไปรวมตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอขับถ่ายออกนั้น ประมาณ 150 cc หรือราว 1 ใน 3 ส่วนของความจุกระเพาะปัสสาวะ จะรู้สึกปวดถ่วงบริเวณหัวเหน่านิด ๆ แต่ยังสามารถรอได้ เมื่อรอไปเรื่อย ๆ กระเพาะปัสสาวะจะค่อยๆ ขยายตัวขึ้น จนปริมาณน้ำปัสสาวะมากขึ้นราว 300-500 cc จะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเคยชินหรือความอดทนของแต่ละบุคคล
สาเหตุ
มีหลายประการ ผู้ที่มีอาการปัสสาวะบ่อย บางคนอาจปัสสาวะออกน้อยหรือบางคนปัสสาวะออกมาก ส่วนใหญ่ถ้าน้อยกว่า 300 cc อาจจะมีสาเหตุภายในร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อาการปัสสาวะบ่อยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากปัสสาวะ แม้ว่าปริมาณปัสสาวะที่สะสมในกระเพาะปัสสาวะยังไม่มากพอ บางรายอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มมากเกินไป หรือเกิดจากโรคเบาหวาน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่ว โรคเบาจืด โรคเนื้องอกสมอง โรคต่อมลูกหมากโต กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงจากยา ผู้หญิงหลังคลอดเชิงกรานหย่อนทำให้ไปดึงรั้งท่อปัสสาวะ
ตัวอย่าง ผู้ป่วยชายอายุ 25 ปี มีอาการปัสสาวะบ่อย จนทำให้อ่อนเพลียมา 6 เดือน น้ำหนักลดอย่างมาก แต่ละครั้งปริมาณปัสสาวะปกติ กลางวัน 10-12 ครั้ง กลางคืน 5-6 ครั้ง ผู้ป่วยดื่มน้ำมากร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการตามัว โดยเป็นทั้งสองข้าง อาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนขี่รถมอเตอร์ไซด์ไม่ได้ ดูทีวีไม่ได้ หลังจากแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ส่วนต่อมใต้สมอง และทำให้เป็นโรคเบาจืดด้วย ต่อมลูกหมากโตยื่นเข้าในกระเพาะปัสสาวะทำให้เนื้อที่แคบลง จุปัสสาวะได้ไม่มากเหมือนเดิม
อาการ
มักพบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะมาก เป็นต้น ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นอาการที่พบได้ในเพศหญิง วัยกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะวัยกลางคน อาการอาจจะแทรกซ้อนอยู่ในกลุ่มโรคต่าง ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งสองเพศ ตลอดจนผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เป็นที่คาดการณ์ว่า อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของประชากรทั่วโลกเป็นจำนวนหลายสิบล้านคน ทั้งเป็นปัญหาที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตในสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ปัญหาต่อสรีระร่างกาย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ และยังส่งผลทำให้เป็นปมด้อยต่อสภาพจิตใจ ปัญหาการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ปัสสาวะเล็ดขณะไอ หรือจาม เมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบท เมื่อกลั้นไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะซึมโดยไม่รู้สึกตัว เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักจะเป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ บริเวณปลายของท่อปัสสาวะ และจะเป็นที่ใกล้กับทางเดินอุจจาระด้วย เชื้อโรคจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายในอวัยวะเพศของผู้หญิง กระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงพบได้ง่ายในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะ อาการที่สำคัญ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแล้วรู้สึกแสบ ขัด สีของปัสสาวะขุ่น และมีไข้ขึ้น หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจปัสสาวะ และนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะทำการรักษาโดยการรับประทานยาฆ่าเชื้อ ถ้าปล่อยให้มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้การติดเชื้อนั้นสวนขึ้นไปจนถึงกรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบตามไปด้วย การป้องกันไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญ คือ การไม่กลั้นปัสสาวะ ในกรณีที่เกิดจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วย อาการอื่นๆของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น อาการปัสสาวะไม่สุด มักพบร่วมกับปัญหาของกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะ เส้นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะ ในบางรายอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ไขสันหลังในส่วนที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
การวินิจฉัย
ส่วนใหญ่สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการตรวจปัสสาวะ หากพบความผิดปกติ เช่น พบหลักฐานการติดเชื้อ จะช่วยให้สามารถทำการวินิจฉัยได้เลย urodynamics study ในบางรายอาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เช่น โรคเบาจืดอาจเกิดจากความผิดปกติของไต หรือ เนื้องอกในต่อมใต้สมอง แนวทางการวินิจฉัยหาสาเหตุอาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจความเข้มข้นของปัสสาวะหลังจากอดน้ำ ตรวจปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ รวมถีงการตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วน ร่วมกับซักถามประวัติอย่างละเอียด
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ส่วนใหญ่จะพบจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง ดังนั้นเริ่มแรกจึงควรแก้ไขไปตามสาเหตุ เช่น
- จากที่เคยเริ่มปวดก็ไปห้องน้ำทันที ลองอดทนรอดูก่อน จนรู้สีกปวดมากหน่อยค่อยไป จะค่อยๆ ใช้เวลานานขึ้นแล้วค่อยชินไปเอง
- ก่อนเดินทาง ก่อนนอน ไม่ควรดื่มน้ำมาก
- แอลกอฮอล์ น้ำชา กาแฟ ดื่มมากก็ทำให้ปัสสาวะบ่อย
- การทานผลไม้ก่อนนอน เช่น องุ่น สับปะรด แคนตาลูป จะทำให้ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ในปริมาณสูง
- ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะก็ควรทานยาแต่วันหน่อย ฤทธิ์ในการขับปัสสาวะจะได้ห่างออกไป
- น้ำเย็น อากาศที่หนาวเย็น เป็นตัวกระตุ้นอย่างดี
- ด้านจิตใจก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น ตอนออกเดินทาง หากจิตใจมัวแต่กังวลเรื่องห้องน้ำอยู่เสมอ คิดแต่เรื่องจะปวดปัสสาวะ ปวดแล้วจะไปพบห้องน้ำที่ไหน รอดูตลอดเวลาว่าจะปวดหรือยัง ก็มีส่วนทำให้ปัสสาวะได้บ่อยเช่นกัน
- ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุก่อนเริ่มทำการรักษาใดๆ เนื่องจากผลการรักษาอาจแตกต่างกันออกไป
การป้องกัน
ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปัสสาวะ บันทึกปริมาณและความถี่ของปัสสาวะคร่าวๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและติดตามผลการรักษา ในขณะเดียวกันควรรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ
ปัญหาเรื่องปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน เกิดจากภาวะไตเสื่อม ปัจจุบันมีผลงานวิจัย โดย ศ.ดร. มณจันทร์ เมฆธน หัวหน้าภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำงานทดลอง โดยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน รับประทาน ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย) ชนิดแคปซูล โดยขนาดที่รับประทานคือ ตอนเช้า 1 แคปซูล และ ก่อนนอน 1 แคปซูล ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดอาการปัสสาวะบ่อยลงได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากสมุนไพรถั่งเช่า มีสรรพคุณช่วยบำรุงและปรับสมดุลการทำงานของไตให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น