เบาหวาน ,อาการ ,สาเหตุ ,วิธีรักษา

หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งคือ “โรคเบาหวาน” นั่นเอง และจากสถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ.2560 พบว่าประเทศไทยมีผู้ที่เป็นโรคเบาหวานราว ๆ 4.4 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก ทั้งนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อาหารประเภทน้ำตาล และแป้ง คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้มีเพียงแค่ น้ำตาลและแป้งเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน แต่อาหารประเภทเนื้อแดงที่มีไขมันเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อวัว รวมไปถึงเนื้อที่ผ่านการปรุงแต่ง เช่น เบคอน ไส้กรอก และแฮม ก็เป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน เนื่องจากไขมันอิ่มตัวจะเข้าไปยับยั้งอินซูลิน(Insulin) ให้ออกฤทธิ์น้อยลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลภายในเลือดไม่ลดลง ทำให้ “ตับอ่อน (pancreas)” ต้องผลิตอินซูลิน(Insulin) ออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะทำให้ตับอ่อนทำงานหนักมากจนเกินไป จนเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตหรือปล่อยอินซูลิน(Insulin) เข้าสู่กระแสเลือดได้ดีอย่างเดิม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็น”โรคเบาหวาน”

โรคเบาหวาน เป็นโรคสำหรับหรับผู้สูงอายุ หรือคนอ้วนเท่านั้น จริงหรือไม่?

โรคเบาหวาน ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้สูงอายุ หรือคนอ้วนเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ เนื่องจาก “โรคเบาหวาน” สามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย หรือทุก ๆ ช่วงอายุ เพียงแต่ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในแต่ละบุคคล แตกต่างกันออกไป ทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง น้ำตาลสูง นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ชอบออกกำลังกาย และมีความเครียด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กหรือคนผอมที่มีพฤติกรรมอย่างที่กล่าวมานี้ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็น”โรคเบาหวาน”ได้เช่นเดียวกัน

โรคเบาหวาน ห้ามรับประทานขนมหวาน หรืออาหารที่มีรสหวานเด็ดขาด

เป็นที่รู้ๆ กันดีว่า “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง”เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งเรื่องนี้ ทำให้ใครหลาย ๆ คน (ทั้งที่เป็นโรคเบาหวานและไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน) เข้าใจว่า การงดอาหารทุกๆ ประเภทที่มีรสหวาน หรือมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมหวานหลากหลายเมนู จะทำให้ปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้ หรือหากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจดังกล่าวของทุก ๆคน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพียงแค่เรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน และมีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม บวกกับการควบคุมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังคงสามารถที่จะรับประทานขนมหวานได้ แต่ต้องไม่รับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป

โรคเบาหวาน เป็นโรคพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้

ความเข้าใจง่าย ๆ ของคนในสมัยนี้ คิดว่าถ้าหากพ่อ-แม่เป็นโรคเบาหวาน ลูกของตนเองก็ต้องป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งในเรื่องนี้ ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานจะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรมได้ แต่ก็ไม่ได้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 100% เสมอไป ฉะนั้น หากเราดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจเลือด หรือการตรวจสุขภาพประจำปี และคอยควบคุมระดับน้ำตาลภายในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพียงเท่านี้ เราก็มีสิทธิ์ที่จะปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้เช่นกัน

น้ำตาลจากผลไม้ ปลอดภัยที่สุดจริงหรือไม่?

ไม่ได้มีเพียงแต่ขนมหวานเท่านั้นที่เป็นตัวการเพิ่มระดับน้ำตาลภายในเลือด เพราะ “ผลไม้ที่มีรสหวาน” ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลภายในเลือดสูงขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน เนื่องจาก “ฟรักโทส (fructose)” หรือ “ฟรุกโตส (Fructose)” เป็นน้ำตาลที่ได้จากผลไม้ จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาล “กลูโคส(Glucose)” ที่จะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้น เราจึงไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีรสชาติหวาน ผลไม้ตากแห้ง ผลไม้อบแห้ง หรือผลไม้แปรรูปต่าง ๆ ในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะลำไย ทุเรียน กล้วย มะม่วงสุก ขนุน และองุ่น เป็นต้น แต่ถ้าหากเรามความต้องการที่จะรับประทานจริง ๆ ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และหมั่นออกกำลังกายอยู่อย่างสม่ำเสมอ

เป็นโรคเบาหวาน สามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่?

ในความเชื่อที่ว่า ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่สามารถบริจาคเลือดได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะเนื่องจากหากเราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลภายในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีความดันร่วม หรือภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เช่น โรคไต แผลจากเบาหวาน หรืออาการผิดปกอื่น ๆ ก็สามารถที่จะบริจาคเลือดได้ตามปกติ

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมหรือไม่?

กล่าวถึงเรื่อง “พันธุกรรม” จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน หากเราใช้พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง เช่น ชอบรับประทานอาหาที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความความเครียดสะสม หรือพักผ่อนน้อย เป็นต้น

*** โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่ มักจะเกิดกับคนที่มีอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบัน เริ่มพบคนเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในช่วงอายุที่น้อยลง

ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัด

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานมักจะถูกตักเตือนให้ระมัดระวังไม่ให้ตัวเองเกิดบาดแผล เนื่องจากจะหายช้ากว่าแผลปกติของคนทั่วไป เมื่อถูกเตือนแบบนี้แล้ว ก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้ารับการผ่าตัดเหมือนกับคนปกติทั่วไป เพียงแต่แพทย์จะต้องคอยระมัดระวังในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเท่านั้นเอง

ขอขอบคุณ
ข้อมูล : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ
ภาพ : https://health.mthai.com/howto/2193.html
เรียบเรียง : ถั่งเช่า ม.เกษตร คอร์ดี้ไทย

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “โรคเบาหวาน” ที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่