“ปอด” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดคือการนำก๊าซออกซิเจน(Oxygen) จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดภายในร่างกาย และนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon Dioxide) ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยอาศัยเซลล์เป็นจำนวนหลายล้าภูนเซลล์ ซึ่งเซลล์ดังกล่าวนี้มีขนาดเล็กและบาง เรียงตัวประกอบกันเป็นถุงคล้ายลูกโป่ง ซึ่งเรียกว่า “ถุงลม” เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คนเรานั้นมีปอดสองข้าง(ขวาและซ้าย)อยู่ในทรวงอก เนื่องจากปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายของเราจึงมีกระดูกซี่โครงเป็นเกราะป้องกัน คอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบางๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า “เยื่อหุ้มปอด”
“กระบวนการหายใจ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร” เพราะเมื่อก๊าซออกซิเจนแพร่เข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกาย ก๊าซออกซิเจนจะทำการเผาผลาญสารอาหารในเซลล์ของร่างกาย ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon Dioxide) และพลังงานน้ำ นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น
- ควบคุมสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในเลือด ควบคุมและขับสารต่างๆ ออกจากระบบเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์และอวัยวะต่างๆ
- กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ
- ช่วยปกป้องและรับแรงกระแทกที่อาจจะทำอันตรายต่อหัวใจซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก
อาการผิดปกติของปอดและระบบทางเดินหายใจ
โรคปอด และ โรคระบบทางเดินหายใจทั่วไป เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งเยื่อหุ้มปอด การติดเชื้อ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อราในปอด วัณโรค หลอดลมอักเสบ เนื้อเยื่อในปอดอักเสบ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด และความดันโลหิตสูงในระบบเลือดไหลเวียนในปอด พยาธิใบไม้ปอดและพยาธิอื่นๆ ส่วนโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอุดตันเรื้อรัง และโรคหอบหืด เป็นต้น
โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคปอด เป็นโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตประมาณร้อยละ 9 ต่อปี สำหรับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หรือเสมหะมีเลือดปน อาจเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของปอดและระบบทางเดินหายใจ
การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค ทำได้โดยการตรวจสมรรถภาพปอด การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ และการส่องกล้องตรวจหลอดลม การตรวจเอ็กซเรย์ต่างๆ อาทิ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ เป็นต้น
รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคระบบทางเดินหายใจ
ถั่งเช่าถือเป็นสุดยอดสมุนไพรจีนที่รู้จักกันมานานนับพันปี มีสรรพคุณด้านการบำรุงปอด ความรู้ด้านนี้สืบเนื่องจากการที่ถั่งเช่ามีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพในการใช้ออกซิเจนได้ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อยหรือออกซิเจนไม่เพียงพอ หนูทดลองที่ได้กินถั่งเช่า สามารถมีชีวิตที่ยาวนานกว่าหนูทดลองที่ไม่ได้กินถั่งเช่าถึง 3 เท่า ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของปอดในการใช้ออกซิเจนที่เหลืออยู่ได้ดีกว่า ข้อดีนี้จึงยืนยันถึงความสามารถของถั่งเช่าในการป้องกันโรคที่เกิดจากการอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง (คนป่วยที่มีปัญหาจะหายใจแรงเนื่องจากขาดออกซิเจน) (Zhu และคณะ 1998)
ถั่งเช่าสกัดช่วยลดการหดเกร็งของหลอดลม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนไข้โรคหอบหืด โดยการช่วยเพิ่มการไหลเวียนอากาศไปยังปอด นอกจากนี้ถั่งเช่ายังช่วยลดการบวมอันเป็นผลจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้อาการหอบหืดทุเลาลง ในการทดลองกับผู้ป่วยจำนวน 50 คนที่เป็นโรคหอบหืด อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ร้อยละ 81.3 ในเวลาเฉลี่ยที่ 5 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ใช้ยาแอนตี ฮีส ตา มีน(Histamine) ที่ใช้ในการรักษาอาการภูมิแพ้ทั่วไป อาการของผู้ป่วยดีขึ้นร้อยละ 61.1 ในเวลาเฉลี่ยที่ 9 วัน (Halpern 1999)
มีการศึกษาอีกจำนวนมาก จากทั้งแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนปัจจุบันนับพันรายเกี่ยวกับการใช้ถั่งเช่ากับผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคปอดอุดตันเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคหลอดลมอักเสบ โดยใช้ถั่งเช่าเดี่ยวๆ หรือใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) ในการรักษา ต่างก็ยืนยันผลลัพธ์ที่ดีของถั่งเช่าในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ (Zhu และคณะ 1998)
ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : atlantaallergy.com
ปรึกษาขนาดการรับประทานถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย CORDYTHAI อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์