ไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดงอยู่บริเวณส่วนล่างของช่องท้อง ทำหน้าที่ กรองเอาของเสีย เกลือแร่และน้ำส่วนเกิน และจะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ ทำให้เกิดการรักษาสมดุลระหว่างน้ำกับเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะขับของเสีย เช่น แอมโมเนียมและยูเรีย และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต ดังนั้น จะสังเกตได้ว่าหากไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย
ทางมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยได้รวบรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตไว้ดังนี้คือ
- กรรมพันธุ์ โรคไตบางชนิดเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) ที่มีทั้งแบบที่เกิดกับทารกซึ่งมักจะทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่เกิด และแบบที่เกิดกับผู้ใหญ่ที่จะพบความผิดปกติเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตจากกรรมพันธุ์ก็พบน้อยมากแต่ถ้ามีใครคนหนึ่งในครอบครัวเป็นโรคไตขึ้นมาโอกาสที่เครือญาติพี่น้องจะเป็นด้วยก็มีสูงถึง 90% ดังนั้นในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคไต จำเป็นที่จะต้องไปตรวจสุขภาพกันทั้งครอบครัว
- โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลกระทบต่อไตด้วย หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง นานๆ ไตก็เสื่อมลง จนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรัง ราว 30%-50% ล้วนเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันคนที่เป็นโรคไตบางชนิด ก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกัน
- โรคเบาหวาน ถือเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดของไต ทำให้มีสารแขวนลอยปนออกมากับปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการกรวยไตอักเสบได้ หากเป็นบ่อยๆ นานๆ เข้า ก็จะทำให้ไตอักเสบ ไตวายและยังมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมาอีกด้วย
- ความอ้วน เนื่องจากคนอ้วนจะมีเมตาบอลิซึม(Metabolism) สูงกว่าคนปกติ ทำให้เกิดของเสียต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น ไตซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียก็จะทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น สังขารของร่างกายก็ร่วงโรยไปตามวัย เช่นเดียวกับ ”ไต” ที่จะเริ่มเสื่อมสภาพเมื่ออายุย่างเข้า 35 ปี นั่นหมายถึงยิ่งมีอายุมากขึ้น ไตก็จะยิ่งเสื่อมสภาพตามอายุไปด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศชาย มีความเสี่ยงที่จะพบปัญหาต่อมลูกหมากโตสูงขึ้น ทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันและส่งผลกระทบต่อไตได้
- อาหาร อาหารบางชนิดหากรับประทานเข้าไปมากๆ จะเป็นอันตรายต่อไต เช่น อาหารรสเค็มจัดที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงและส่งผลกระทบต่อไต รวมถึงอาหารกลุ่มโปรตีนที่มีงานวิจัยพบว่าเนื้อสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูปและอาหารที่ใส่สารเคมีเพื่อให้เก็บได้นานขึ้น ถือเป็นของเสียในร่างกาย หากทานเข้าไปมากๆ จะมีของเสียเหลือตกค้างในร่างกายมาก ทำให้ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียทำงานหนักมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ควรเลือกทานโปรตีนจากไข่ขาวหรือเนื้อปลา เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีคุณภาพสูง
- ยา เช่น ยาแก้ข้อกระดูกอักเสบ (พวก N SAID) เป็นยาที่ไม่ส่งผลดีต่อไต ที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้ รวมถึงสารทึบรังสีบางชนิดที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยเวลาตรวจทางเอกซเรย์ก็ส่งผลให้ไตวายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นหากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
- อาชีพและอุบัติเหตุ คนที่มีอาชีพเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น นักมวยที่อาจถูกเตะต่อยบริเวณไต รวมถึงคนที่ทำงานในโรงงานก็อาจได้รับสารพิษจากการสัมผัสหรือสูดดม สะสมในไตมาเป็นเวลานาน
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคไต
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในไต
- ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไต
- ผู้ป่วยโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ต่ำกว่า 2,500 กรัม
- ผู้ที่ได้รับสารพิษจากยาบางชนิด หรือสารแปลกปลอมอยู่เป็นประจำ หรือมากเกิน
จากปัจจัยเสี่ยงทั้ง 10 ข้อ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็น 2 โรคสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังได้มากที่สุด
การตรวจเพื่อดูความผิดปกติของไต
- ตรวจปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไตอักเสบ โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่นๆ สิ่งที่ตรวจหาคือโปรตีนรั่วหรือไข่ขาวรั่ว เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และนำปัสสาวะไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเม็ดเลือดแดง และตะกอนต่างๆ
- ตรวจเลือด อาจพบว่ามีระดับของเสียเพิ่มขึ้น เช่น ค่ายูเรียในรูปของ BUN (Blood Urea Nitrogen : เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนที่พบในกระแสเลือด ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งที่ไต หากไตไม่สามารถกำจัดยูเรียหรือของเสียได้ จะพบปริมาณไนโตรเจนในรูปของยูเรียมีปริมาณสูง ค่าปกติคือ 8-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) และครีอะตินีน (creatinine : ซึ่งแปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ และถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมสภาพจึงมีค่านี้สูง ค่าปกติในผู้ใหญ่ คือ 0.7-1.3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ และน้ำหนักด้วย
- การตรวจทางรังสีหรืออัลตร้าซาวน์(ultrasound) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของขนาดไต เนื้อไต หรือดูการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- การตรวจหาอัตราการกรองของไตโดยการคำนวณหาอัตราการกรองของไตในหนึ่งนาทีเรียกว่าจีเอฟอาร์ (GFR : Glomerular Filtration Rate) คืออัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตภายในหนึ่งนาที ค่าที่ได้นี้คำนวณจากค่าครีอะตินีน(Creatinine)กับอายุ ซึ่งคนปกติค่า GFR เท่ากับ 125 มล./นาที หมายถึงไตสามารถกรองได้ปริมาตร 125 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นตัวบอกระดับความรุนแรงของโรคไตเรื้อรัง ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 ค่า GFR ≥ 90 มล./นาที (ไตเริ่มเสื่อม แต่อัตราการกรองยังปกติดี)
- ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 มล./นาที (ไตเริ่มเสื่อม อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย)
- ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 มล./นาที (อัตราการกรองลดลงปานกลาง)
- ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 มล./นาที (อัตราการกรองลดลงมาก)
- ระยะที่ 5 ค่า GFR < 15 มล./นาที (ไตวาย ต้องฟอกไต)
สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การตรวจเลือดอาจพบว่าค่า creatinine ปกติแต่ค่า GFR จะต่ำจึงอาจจะต้องตรวจด้วยการเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหา น้ำตาลโปรตีน เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง รั่วไหลออกมากับปัสสาวะหรือไม่ มากหรือน้อยเพียงใด
รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคไต
ถั่งเช่าได้ถูกกล่าวขานมาแต่โบราณในเรื่องสรรพคุณที่สามารถบำรุงไต ช่วยให้ไตมีสุขภาพดีขึ้นได้ถึงแม้จะล้มเหลวไปแล้วก็ตาม ในบรรดาอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรานั้น ไตถือเป็นอวัยวะที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดี หากไตเริ่มเสื่อมสภาพอาการที่แสดงออกมามีมากมาย เช่น ปวดข้อและหลัง เหนื่อยล้าไม่มีแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาการมีเสียงในหู เป็นต้น ถั่งเช่าช่วยรักษาสมดุลของไต ทำให้ไตมีสุขภาพดีได้ เนื่องจากช่วยเพิ่มระดับของ 17-hydroxy-corticosteroid และ 17-ketosteroid (Zhu และคณะ 1998) ถั่งเช่าได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคไตต่างๆ เช่น กรวยไตอักเสบเรื้อรัง โรคไตอักเสบเรื้อรัง ไตล้มเหลว หรือความผิดปกติของไตเรื้อรัง และโรคเนฟริติก (nephritic syndrome เป็นโรคไตอักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของกรวยไต ที่ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทั้งตัวแต่ไม่มีไข้) (Feng และคณะ 2008)
ภาวะไตวายเรื้อรังเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งซึ่งมักพบในคนสูงวัย จากการศึกษาให้คนที่มีปัญหาไตวายเรื้อรังจำนวน 51 คน รับประทานถั่งเช่า วันละ 3-5 กรัม พบว่าภูมิคุ้มกันโดยรวมของคนไข้ดีขึ้น การทำงานของไตดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทานถั่งเช่า (Guan และคณะ 1992)
คนไข้ที่เป็นโรคไตเสื่อมหรือไตวายเรื้อรังมักมีปัญหาที่ตามมาคือ ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง และโปรตีนสูงในปัสสาวะ จากการศึกษาโดยให้คนที่มีปัญหาไตวายเรื้อรัง รับประทานถั่งเช่าเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าความดันโลหิตลดลง 15% อาการของโปรตีนสูงในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ SOD (superoxide dismutase) การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ SOD มักพบควบคู่กับการลดลงของ serum lipoperoxide ซึ่งบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการถูกทำลายของเซลล์ไต (Jiang และ Gao 1995)
อีกการทดลองหนึ่งได้ทำในโรงพยาบาลกับคนไข้จำนวน 57 คน ที่ไตบกพร่องจากการได้รับยาปฏิชีวนะ ไม.cin, เจ็น ta โดยให้คนไข้รับประทานถั่งเช่า วันละ 4.5 กรัม เป็นเวลา 6 วัน เปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ กลุ่มทดลองที่ได้รับประทานถั่งเช่ามีการทำงานของไตดีขึ้นถึง 89% ของการทำงานที่เป็นปกติ ในขณะที่กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับถั่งเช่า) มีอาการดีขึ้น 45% ของการทำงานที่เป็นปกติและระยะเวลาที่ไตทำงานได้ดีขึ้นก็เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นี่เป็นเพียงแค่ 2-3 ตัวอย่างจากการทดลองมากมาย ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าถั่งเช่าช่วยดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีของไต ทำให้ไตที่ถูกทำลายหรือเป็นโรคกลับมาทำงานได้ดีขึ้นมาก
ถั่งเช่ายังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ DNA(ดีเอ็นเอ)ในเซลล์เยื่อบุผิวรูปทรงสูงของท่อไตในหนูทดลอง (Tian และคณะ 1991) และยังช่วยปกป้องเซลล์ที่เป็นหน่วยย่อยของท่อขดส่วนต้น จากพิษของยาปฏิชีวนะเจ็น ตา ไมซิน(Gentamicin) กลไกที่เกิดขึ้นคือช่วยการป้องกันการดูดกลับเกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอาหารบางชนิด เช่น กรดอะมิโนและกลูโคส ช่วยลดการเกิด lipid per oxidation (คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อ อนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับกรดไขมันไม่อิ่มตัวในผนังเซลล์เกิดเป็น lipid peroxide ซึ่งจะเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากชั้นในของเยื่อหุ้มเซลล์ขึ้นมาอยู่บนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์และเกิดการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์) (Zhen และคณะ 1992 ; Li และคณะ 1996) ถั่งเช่ายังปกป้องไตของหนูทดลองที่ถูกชักนำจากยา spo, ไซโคล, ริน ทำให้เกิดโรคไตวายเฉียบพลัน (ยาที่ถูกนำมาใช้กดภูมิคุ้มกันฯ ในการปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อป้องกันการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ) ทำให้ไตของหนูทดลองมีการกรองของเสียที่ดีขึ้นและลดความเสียหายของไต (Zhao และ Li 1993) ซึ่งสอดคล้องในผู้รับการปลูกถ่ายไตที่ทดลองโดย Xu และคณะ (1995) ในปี ค.ศ. 1994 Bao และคณะ ได้รายงานผลการทดลองว่าถั่งเช่าช่วยป้องกันไตของผู้ป่วยที่ถูกทำลายจากความเป็นพิษของยา KA.ซิน,AMI, sul.phate โดยตรวจเช็คจากค่าเอนไซม์ glyco,sidase, nephro อะมิโน และ macro,glo.บูลิน ในปัสสาวะ
สารสกัดถั่งเช่าช่วยปรับปรุงให้การทำงานของไตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญผ่านทางกิจกรรมช่วยทำให้เซลล์แข็งแรงไม่เสื่อมสภาพง่ายและต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตในหนูซึ่งผ่านการขาดเลือด 60 นาทีและเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอต่ออีก 3 วัน (Shahed และคณะ 2001) อีกกลไกหนึ่งที่ถั่งเช่าช่วยปกป้องไตมาจากผลการยับยั้งต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ mesangial (ต่อมน้ำเหลืองบริเวณ glomerulus บริเวณที่กรองเลือดขั้นแรก อยู่ที่จุดเริ่มต้นของหน่วยไต) หากเส้นโลหิตที่ไตตีบจะทำให้เกิดการเพิ่มของเซลล์ mesangial ที่จะส่งผลให้คุณสมบัติของความเป็นเซลล์กล้ามเนื้อเรียบถูกขัดขวางจากการทดลองใช้ถั่งเช่าที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ทำให้เซลล์ mesangial ในมนุษย์ที่กระตุ้นด้วย LDL (low-density lipoprotein) เพื่อให้เซลล์เพิ่มขนาด มีขนาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (Wu และคณะ 2000) ทำให้เป็นอันตรายต่อไตน้อยลง นอกจากนี้ถั่งเช่ายังสามารถปกป้องไตจากยา ริน A – ,ไซโคล spo ที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อไตเรื้อรัง โดยการช่วยลดค่ายูเรียไนโตรเจนในเลือดให้ต่ำลง (BUN) ลดการเกิดพังผืด ลดอาการบวมน้ำ และลดการตายเฉพาะส่วนของเซลล์ไต (Wojcikowski และคณะ 2006)
นอกจากนี้สารสกัดโดยใช้น้ำของถั่งเช่ายังช่วยในการลดกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ที่มากเกินไปในเซลล์ท่อไต (Ng และ Wang 2005; Li และ Yang 2008a) และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ในหนูที่มีปัญหาไตวายเรื้อรังด้วย (Cheng 1992)
จากการทดลองทางการแพทย์ได้แสดงให้เห็นหลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับการใช้ถั่งเช่าเป็นยาป้องกันและรักษาไต (Wojcikowski และคณะ 2004, 2006) ตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยถั่งเช่าช่วยให้คนที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีอาการดีขึ้นจากการที่ร่างกายปฏิเสธการปลูกถ่ายไต การทำงานของไตและตับดีขึ้นควบคุมมิให้ไขมันในเลือดสูง และโปรตีนในเลือดต่ำ ลดการติดเชื้อในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต และการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดที่ไขสันหลัง (Sun และคณะ 2004; Li และคณะ 2009) ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่บริโภคผลิตภัณฑ์ถั่งเช่ามีการทำงานของไตดีขึ้น มีค่า creatinine และ BUN ลดลง ในขณะที่แคลเซียมและค่าโปรตีนในเลือดเพิ่มขึ้น (Feng และคณะ 2008)
ภาวะไตอักเสบยังพบได้บ่อยในโรคลูปัส
ผลของถั่งเช่าต่อคนไข้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
จากการศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคไต 69 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่รับประทานถั่งเช่า วันละ 3 กรัมร่วมกับยา ไซโคล,spo.ริน (เป็นยาที่สกัดจากเชื้อรา Toly po cladium ในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งใช้เป็นยาสำหรับป้องกันการปฏิเสธอวัยวะใหม่) เป็นเวลา 15 วัน พบว่าไตเสียหายน้อยกว่ากลุ่มที่รับเฉพาะยา ไซโคล,spo.ริน ซึ่งวัดได้จากค่า NAS ในปัสสาวะ คลีเอตินิน (creatinine) และยูเรีย ไนโตรเจนในเลือด (Xu และคณะ 1995)
ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : treatments-for-kidney-disease-cured.blogspot.com
ปรึกษาขนาดการรับประทานถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย CORDYTHAI อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์