ทุกคนย่อมเคยเจ็บป่วย และมักมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย แต่ภายหลังหายจากอาการเจ็บป่วย อาการอ่อนเพลียยังคงอยู่เหมือนเดิม หรือแม้กระทั่ง ไม่ได้เจ็บป่วยแต่อย่างใด แต่ทำไมยังรู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อไปตรวจเพื่อหาสาเหตุก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ แน่นอนปัญหาเหล่านี้ย่อมสร้างความกังวลใจ ยิ่งคิด ก็ยิ่งเครียด กันเข้าไปใหญ่ แล้วสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกติดังกล่าวเกิดจากอะไรกันแน่ ทำอย่างไรจึงหายจากอาการเหล่านี้ได้ วันนี้ ถั่งเช่าสกัดคอร์ดี้ไทย มีคำตอบ
อันดับแรกต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นความรู้สึกหรืออาการมิใช่โรค มักพบว่าอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดขึ้นหลังการอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือทำงานต่อเนื่อง และสามารถพบอาการเหล่านี้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงหรือผู้ชายมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้พอๆ กัน โดยพบมากขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น
อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมีกี่ประเภท
1) Physiologic Fatigue – อาการเหนื่อยล้าปกติ จากการใช้ชีวิตประจำวัน
2) Acute Fatigue – อาการเหนื่อยล้าแบบเฉียบพลัน
3) Secondary fatigue – อาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ
4) Chronic Fatigue – อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
1) อาการเหนื่อยล้าปกติ จากการใช้ชีวิตประจำวัน (Physiologic Fatigue)
คืออาการเหนื่อยล้าตามปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน จะมีอาการในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากการทำงานหนัก อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีปัญหาทางจิตใจ โดยอาการจะหายไปเอง ภายหลังจากได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ มักมีอาการอยู่ประมาณไม่เกิน 2 – 4 สัปดาห์
2) อาการเหนื่อยล้าชนิดเฉียบพลัน (Acute Fatigue)
คืออาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งก็คืออาการเหนื่อยล้าตามปกติที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน และอาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ
3) อาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ (Secondary fatigue)
ได้แก่อาการเหนื่อยล้าที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น จากโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคตับแข็ง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง ยาลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาการเหนื่อยล้าทุตยภูมิ จะหายได้ภายหลังได้รับการรักษา ควบคุมสาเหตุได้เรียบร้อย
4) อาการเหนื่อยล้าชนิดเรื้อรัง (Chronic Fatigue)
คืออาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งมักพบว่าเกิดจากการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุไม่ได้ เช่น ควบคุมโรคมะเร็งไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเมื่ออาการเกิดขึ้นเรื้อรังนานเกิน 6 เดือน และเป็นอาการที่แพทย์ตรวจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน
หลายท่าน อาจมีข้อสงสัยว่า แล้วอาการเหนื่อยล้า ที่เกิดขึ้น แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการเหนื่อยล้า ได้อย่างไร ?
คำตอบคือ แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการเหนื่อยล้า ได้จากประวัติอาการเจ็บป่วยทั้งอดีต และในปัจจุบัน ประวัติปัญหาในชีวิต และครอบครัว การตรวจร่างกาย การตรวจอื่นๆ เพื่อติดตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบและตามดุลพินิจของแพทย์
อาการเหนื่อยล้ารุนแรงหรือไม่ ? มีผลข้างเคียงอย่างไร ?
1) อาการเหนื่อยล้า จากการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอาการที่ไม่รุนแรง อาการมักจะหายไปเอง เมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2) ความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ จะขึ้นกับสาเหตุ ดังต่อไปนี้
– รุนแรงปานกลาง เมื่อเกิดจากโรคเบาหวาน
– รุนแรงเมื่อเกิดจากภาวะซีด จากการขาดธาตุเหล็ก
– รุนแรงสูงขึ้น เมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง
3) อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิต ตลอดจนกระทบต่อหน้าที่การงาน
เราสามารถป้องกันอาการเหนื่อยล้า ได้อย่างไร ?
1) นอนหลับ พักผ่อน ให้เพียงพอ ประมาณวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
2) ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
3) ออกกำลังกายแต่พอเหมาะ อย่างสม่ำเสมอ
4) เลิกสูบบุหรี่
5) ไม่ดื่มสุรา
6) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
7) ดูแล รักษา ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการเหนื่อยล้า
8) เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พบโรคเรื้อรังตั้่งแต่เริ่มแรกที่เป็น ในขณะยังไม่มีอาการ ซึ่งการดูแลรักษาและควบคุมจะทำได้ดีกว่าเมื่อตรวจพบโรคเมื่อมีอาการแล้ว
ที่มา : ศจ.เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ – วว.รังสี และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ภาพประกอบ : www.express.co.uk