การวัดชีพจรเพียง 1 นาที ก็สามารถรู้ได้ว่าเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน?
การตรวจวัดชีพจร ควรวัดตอนที่เรานั่งพักเฉยๆ สักระยะ หากพึ่งทำกิจกรรมอื่นๆ ไป เช่น เดิน วิ่ง หรือทำงานหนักจำทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ดังนั้นควรนั่งพักเฉยๆ ประมาณ 5 – 10 นาทีก่อนทำการวัดชีพจร
วิธีตรวจวัดชีพจร สามารถทำได้ง่ายๆ โดยวางนิ้วชี้ และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเล็กน้อย จะรู้สึกถึงชีพจรที่เต้น ทำการจับเวลา 30 วินาที จะทำให้รู้ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้ง แล้วนำตัวเลขที่ได้มาคูณด้วย 2 เพื่อให้ได้จำนวนหัวใจเต้นภายใน 1 นาที อย่างไรก็ตามเพื่อความแม่นยำอาจลองนับชีพจร 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยได้
โดยปกติแล้วในวัยผู้ใหญ่ ชีพจรควรเต้น 60 – 100 ครั้ง/นาที และโดยส่วนมากผู้ที่มีสุขภาพดี หัวใจจะเต้นต่ำกว่า 90 ครั้ง/นาที
ชีพจร บอกอะไร ?
หากหัวใจของเราเต้นเป็นปกติ สามารถบอกได้ว่าปัญหาไขมันในเส้นเลือด เช่น ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ
ดร. เจสัน วาสฟี ผู้อำนวยการด้านคุณภาพ และการวิเคราะห์ของโรงพยาบาลหัวใจ Massachusetts General ในเครือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า “ในกรณีนี้ การเต้นชีพจรที่ต่ำกว่า แสดงถึงความสมบูรณ์ของการทำงานของหัวใจที่ดีกว่า สามารถบ่งชี้ได้ว่าระดับความเสี่ยงของกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจวาย ต่ำลงด้วย ในทางตรงกันข้าม หากหัวใจเต้นเร็ว นั่นแสดงถึงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า เพราะหากหัวใจเต้นเร็ว อาจมีสาเหตุมาจากการที่หัวใจทำงานหนักมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย”
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที อาจหมายถึงความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติได้
เช็คชีพจรเรื่อยๆ
หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ สามารถตรวจเช็คชีพจร 2 – 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป เช่น เช้า กลางวัน เย็น และ ก่อนนอน
ก่อนการวัดชีพจร ไม่ควร
- ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมหนักๆ เช่น เดินขึ้นบันได ยกของหนัก หากพึ่งทำกิจกรรมหนักๆ ไป ควรนั่งพักเฉยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก่อนทำการวัดชีพจร
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน หากดื่มไปแล้วควรหยุดดื่มราว 1 ชั่วโมงก่อนทำการวัดชีพจร
- ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจร คือตอนเช้าหลังตื่นนอน
วิธีลดชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ
หากหัวใจเต้นเร็วเกิน 100 ครั้ง/นาที มีวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจได้ นั่นคือ การออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอีกหลายประการ การตรวจชีพจรเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นด้วยตัวเองแบบง่ายๆ หากรู้สึกว่าเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เมื่อทำกิจกรรมหนักๆ เช่น ออกกำลังกาย วิ่ง หรือเดินขึ้นบันได ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยละเอียด
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : Harvard Health Publishing, sanook.com
เรียบเรียง : คอร์ดี้ไทย (ถั่งเช่า ม.เกษตร)
ภาพ : irishhealth.com