ผลการรวจเลือดออกมาแล้ว ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglycerides) ทำไมสูงขึ้นผิดปกติ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา และต้องปฎิบัติตัวอย่างไร? วันนี้ ถั่งเช่า ม.เกษตร(คอร์ดี้ไทย) จะพาทุกท่านมารู้จักกันก่อนว่า ไตรกลีเซอไรด์ ที่ว่านี้ คืออะไร
ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) คืออนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเล็กและเบาบางมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ออกมา ไขมันชนิดนี้ยังมาจากการทานอาหารเข้าไปด้วย อาหารประเภทไขมันส่วนใหญ่ จะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์รวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรือ อาหารชนิดต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีไขมันซ่อนอยู่ด้วย รวมถึงน้ำมันพืช เมื่อเราได้รับอาหารชนิดดังกล่าวเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมและส่งไตรกลีเซอไรด์ผ่านเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกายที่ต้องการพลังงาน
ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ที่มีปริมาณมากเกินไปจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน(Body Fat) และพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนทำให้ร่างกายอ้วนท้วนขึ้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มมีปัญหาแล้ว ?
โดยปกติแล้ว ร่างกายสามารถกำจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาแค่ 2-3 ชั่วโมงหลังจากการทานอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ก็จะถูกขับออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนปกติจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่เมื่อไหร่ก็ตามหากตรวจเลือด หลังอดอาหารมาแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง พบว่า ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด มีปริมาณสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป นั่นหมายถึง ร่างกายเริ่มมีปัญหาในการกำจัดไตรกลีเซอไรด์
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้อย่างไร ?
ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงผิดปกติ เกิดจาก
- ทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน ได้รับแคลอรี่หรือพลังงานมากเกินไป
- ทานอาหารประเภทของหวาน หรืออาหารที่มีไขมัน ในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายผลิตไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป
- การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้นเช่นกัน
- การทานยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด ฮอร์โมนเพศหญิง ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์
นอกจากนี้ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อ้วนลงพุง โรคเบาหวานชนิดที่สองหรือชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน คนที่เป็นโรคไต คนที่เป็นโรคตับ และคนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ทั้งนี้สืบเนื่องจากกลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป
ไตรกลีเซอไรด์กับปัญหาสุขภาพ
ไตรกลีเซอไรด์ที่ถูกสะสมในกระแสเลือดมากผิดปกติ จะทำให้มีความเสี่ยงดังนี้ :-
1) โรคหัวใจ
โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต เช่นเดียวกับ การที่คอเลสเตอรอลสูง เพราะไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) มีปริมาณสูงจะทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่ม และอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ส่วนสมอง และหัวใจ
2) โรคตับ
ในรายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงมากๆ จะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้
3) โรคมะเร็งเต้านม
ในเพศหญิง ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงมากๆ ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen)ที่ไหลเวียนอยู่สูงตามขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม
แหล่งอาหารชนิดใดบ้าง ที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง
1) อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์
2) ขนมหวานทุกชนิด อาหารที่มีรสหวานจัด เนื่องจากร่างกายจะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
3) อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เช่น เครื่องในสัตว์ต่างๆ ตับ หนังไก่ หนังเป็ด
4) อาหารประเภทแป้ง เช่น ช๊อคโกแลต
วิธีควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์
- ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ควรลดอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล เนื่องจากอาหารในกลุ่มนี้ หากเหลือใช้ จะถูกอินซูลิน เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/อาทิตย์ - เน้นทานอาหารประเภทกากใยต่าง ๆ
เน้นทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น คะน้า บล็อกเคอรี่ ผักกาด เพราะกากใยอาหารที่ได้จากผัก และ ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่างๆ มีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ ลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) เพิ่มขึ้นด้วย - หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไวน์ หรือเบียร์ ล้วนมีส่วนประผสมของน้ำตาลด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด - งดสูบบุหรี่
บุหรี่ มีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) มากขึ้น สารนิโคติน(Nicotine) ในบุหรี่ ยังให้โทษต่อร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายหลายชนิดอีกด้วย - เน้นทานสมุนไพร
หนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้คือ ไรซ์เจิร์ม(Rice Germ) หรือ ข้าวยีสต์แดง มีคุณสรรพคุณในการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และไขมันชนิดไม่ดี อย่างเห็นผลชัดเจน
สนับสนุนข้อมูล : ถั่งเช่า ม.เกษตร(คอร์ดี้ไทย)
ภาพประกอบ : http://www.questforhealth.com