สาเหตุ, อาการ, วิธีรักษา, โรคไต ,ไตเสื่อม ,ไตวายเรื้อรัง ,

โรคไตถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้ และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาโดยสมาคมโรคไต พบว่ามีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนหลักล้านคน แต่มีจำนวนผู้ที่เข้ารับการฟอกไตจริงๆ ไม่ถึงแสนคน วันนี้ ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย) ขอนำทุกท่านมาทำความรู้จัก โรคไต ว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง รวมถึงเราจะมีวิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังได้อย่างไร

หน้าที่ของไต

“ไต” มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

  1. ทำหน้าที่ขับของเสียและขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ จะทำให้มีมีอาการบวมตามตัว
  2. ทำหน้าที่ปรับสมดุล กรด ด่าง และกลือแร่ในร่างกาย
  3. ทำหน้าที่สังเคราะห์วิตามินต่างๆ สังเคราะห์และสร้างฮอร์โมนท์ที่กระตุ้นเม็ดเลือดต่อวิตามินดี ดังนั้นหากการทำงานของไตเสื่อมลงอาจทำให้เลือดจาง และมีภาวะขาดวิตามินได้

 สาเหตุของโรคไต

  • อันดับ 1 พบว่าเกิดจากโรคเบาหวานที่เป็นมาระยะเวลานาน
  • อันดับ 2 เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
  • อันดับ 3 เกิดจากภาวะไตอักเสบเรื้อรัง มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีสาเหตุจากนิ่วในไต
    รวมถึงการที่คนไทย นิยมหาซื้อยามารับประทานเอง อาทิ เช่น ยาสมุนไพรต่างๆ ยาแก้ปวด  เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงโรคไต

  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ เกิน 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคเก๊าท์ หรือโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่นอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือ มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคไตมาก่อน

อาการของโรคไต

โรคไตเรื้อรังถือเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นและยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติมากแล้ว ซึ่งเมื่อแพทย์สอบถาม มักจะพบอาการ ดังต่อไปนี้

  1. บวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณหนังตา ขา หรือเท้า ซึ่งในคนปกติหากไม่เคยมีอาการบวมมาก่อนแล้วบวมขึ้นมา ถือว่าน่าสงสัย
  2. ปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น เวลาที่กดชักโครกหรือราดน้ำ แล้วเกิดฟอง ยิ่งมีฟองเยอะหรือหลายชั้น แสดงว่าผิดปกติ ทั้งนี้รวมไปถึงสีของปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น มีสีปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆ เหมือนน้ำล้างเนื้อ การเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ทั้งระหว่างวัน และตอนนอน หมายถึงมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งคนไข้ควรสังเกตอาการเหล่านี้
  3. เบื่ออาหาร ทานได้น้อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน

 

ระยะของโรคไต

โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะด้วยกัน โดยสามารถทราบระยะได้จากการตรวจเลือดและดูค่าของไต ที่เรียกว่า Creatinine มาวิเคราะห์ตามสูตร โดยคำนวนตามเพศ อายุ น้ำหนัก และคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์

  • 100% แสดงว่าปกติ
  • ค่าระหว่าง 90% คือ ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 1
  • ค่าระหว่าง 60% – 90% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 2
  • ค่าระหว่าง 30% – 60% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 3 ซึ่งทั้ง 3 ระยะ แทบจะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น แพทย์ต้องทำการซักประวัติและสอบถามอาการอย่างละเอียด แต่หากคนไข้พบว่าตนเองเป็นโรคไต ตั้งแต่ในระยะต้นๆ ถือว่าโชคดี ที่จะทำการรักษา
  • ค่าระหว่าง 15% – 30% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 4
  • ค่าต่ำกว่า 15% เป็นโรคไต ระยะที่ 5 ถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ ไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการบำบัดทดแทนไตต่อไป

 

การป้องกันภาวะไตวาย

  1. ควบคุมอาหาร ลดเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก และยังเป็นการควบคุมความดัน
  2. ลดอาหารที่มีไขมันสูง
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  4. ควรดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ เนื่องจากการดื่มน้ำไม่มีข้อห้ามใดๆ และมีผลดีต่อสุขภาพทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำรุงไต ให้ทนทานต่อสภาวะต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องคุมน้ำตาล
  6. หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ
  7. หากเกิดจากยาที่รับประทานเข้าไป ก็ต้องหยุดยา
  8. ควบคุมยาที่มีผลต่อไต หลีกเลี่ยงการทานยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณ หรือทานยาที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะยาสมุนไพร หรือยาแก้ปวด ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  9. หากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์วีรศักดิ์ แพร่ชินวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ภาพ : https://www.honestdocs.co/

9 วิธีป้องกัน “โรคไต” ทำได้แข็งแรงแน่นอน