ในบรรดาโรคข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคที่พบได้มากที่สุด ไม่ใช่แค่ผู้สูงวัยเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ หนุ่มสาววัยทำงานก็สามารถเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน
อาการโรคข้อเข่าเสื่อมในวัยทำงาน เป็นอย่างไร?
- รู้สึกเจ็บเข่า แต่พอนั่งพักอาการจะดีขึ้น
- รู้สึกอุ่นๆ ที่บริเวณข้อต่อ
- บวมบริเวณเข่า
- เข่าแข็ง
- เคลื่อนไหวไม่สะดวก เช่น เวลาเข้าไปนั่งในรถ หรือเวลาออกมาจากรถ เวลาเดิน หรือเดินขึ้นบันได จะรู้สึกไม่คล่องตัว
- มีเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของเข่า เวลาเคลื่อนไหว
หากใครที่กำลังอยู่ในวัยทำงาน และมีปัญหาเหล่านี้อยู่ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ทำให้กระดูกข้อต่อเกิดการเสียดสีกัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เข่าบวม เข่าแข็ง ละมีอาการเจ็บปวดบริเวณเข่า หรือเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก
ผลกระทบจากอาการ ข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมพบได้มากในผู้สูงอายุและวัยกลางคน หากเริ่มมีอาการแล้วไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ เจ็บปวดบริเวณเข่า จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีงานวิจัยโรคข้อเข่าเสื่อมในวัยหนุ่มสาว และนักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ผลการวิจัยพบว่า แม้แต่นักกีฬาก็มีโอกาสป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าร่างกายจะมีความทนทานมากกว่าคนปกติ (มวลกล้ามเนื้อในร่างกาย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในวัยหนุ่มสาวหรือนักกีฬาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม) หรือกีฬาบางประเภทเช่นอเมริกันฟุตบอล หรือซูโม่ นักกีฬาที่มีค่าดัชนีมวลกาย BMI สูงก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา วัยทำงาน หรือแข็งแรงถึงขั้นเป็นนักกีฬา ก็มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าการเดินได้ไม่ปกติ และอาการเจ็บปวดที่เข่า จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจัยที่ทำให้วัยทำงานเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
อายุ คือปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นก่อนวัย ดังนี้
- อายุ กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อเกิดการสึกหรอไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น
- น้ำหนัก ยิ่งมีน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าก็ต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น หากน้ำหนักของเราเพิ่มขึ้นเพียงครึ่งกิโลกรัม จะทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 1-2 กิโลกรัม
- เพศ ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
- พันธุกรรม ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมาก่อน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตอนสูงอายุได้ รวมถึงรูปร่างของกระดูกที่ผิดปกติบริเวณเข่าก็เป็นพันธุกรรมเหมือนกัน
- การบาดเจ็บซ้ำซาก บางอาชีพทำให้เข่าได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก ต้องแบกของที่หนักเกิน 25 กิโลกรัมทุกวัน ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเยอะ ส่งผลให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้เช่นเดียวกัน
- การเล่นกีฬากีฬาบางชนิด เช่น วิ่งมาราธอน ฟุตบอล หรือเทนนิส ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ เพราะกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ หัวเข่าไม่แข็งแรง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าอักเสบได้เช่นเดียวกัน
- ความเจ็บป่วย คนที่เป็นโรครูมาตอยด์ อาจเป็นโรคข้อเข่าอักเสบด้วย หรือคนที่มีความผิดปกติ เช่น มีโกรธ์ฮอร์โมนมากเกินไป ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
- ลดน้ำหนักการลดน้ำหนักจะช่วยทำให้ข้อเข่าไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด หรือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้
- ออกกำลังกายการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณเข่า จะช่วยทำให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเคลื่อนที่ได้ดี
- ทานอาหารที่มีวิตามินดีการมีวิตามินดีในร่างกายน้อยจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนที่มีวิตามินดีในร่างกายสูง ดังนั้นควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และทานอาหารที่ให้วิตามินดี เช่น ไข่ขาว น้ำส้มคั้นสด หรือซีเรียล
- การใช้ยาหากมีอาการปวดเนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ควรซื้อยามาทานเองเกิน 10 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะการใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดเข่า อาจส่งผลข้างเคียงได้ หากมีอาการเจ็บปวดจากโรคข้อเข่าอักเสบและต้องการทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง : เซ็นโทร (Centro) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บำรุงข้อเข่า สารสกัดจากงาดำ ใบบัวบก คอลลาเจน ไทพ์-ทู และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง
ขอขอบคุณข้อมูล : Sopista Kongchon
ภาพ : health.mthai.com
เรียบเรียง : คอร์ดี้ไทย – เซ็นโทร บำรุงข้อเข่า