“โรคไต” ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้ และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาโดยสมาคมโรคไต พบว่ามีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนหลักล้านคน แต่มีจำนวนผู้ที่เข้ารับการฟอกไตจริงๆ ไม่ถึงแสนคน วันนี้ ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย) ขอนำทุกท่านมาทำความรู้จัก โรคไต ว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง รวมถึงเราจะมีวิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังได้อย่างไร
หน้าที่ของไต
“ไต” มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
- ทำหน้าที่ขับของเสียและขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ จะทำให้มีมีอาการบวมตามตัว
- ทำหน้าที่ปรับสมดุล กรด ด่าง และกลือแร่ในร่างกาย
- ทำหน้าที่สังเคราะห์วิตามินต่างๆ สังเคราะห์และสร้างฮอร์โมนท์ที่กระตุ้นเม็ดเลือดต่อวิตามินดี ดังนั้นหากการทำงานของไตเสื่อมลงอาจทำให้เลือดจาง และมีภาวะขาดวิตามินได้
สาเหตุของโรคไต
- อันดับ 1 พบว่าเกิดจากโรคเบาหวานที่เป็นมาระยะเวลานาน
- อันดับ 2 เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
- อันดับ 3 เกิดจากภาวะไตอักเสบเรื้อรัง มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีสาเหตุจากนิ่วในไต
รวมถึงการที่คนไทย นิยมหาซื้อยามารับประทานเอง อาทิ เช่น ยาสมุนไพรต่างๆ ยาแก้ปวด เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงโรคไต
- ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ เกิน 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคเก๊าท์ หรือโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่นอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือ มีอายุมากกว่า 60 ปี
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคไตมาก่อน
อาการของโรคไต
โรคไตเรื้อรังถือเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นและยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติมากแล้ว ซึ่งเมื่อแพทย์สอบถาม มักจะพบอาการ ดังต่อไปนี้
- บวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณหนังตา ขา หรือเท้า ซึ่งในคนปกติหากไม่เคยมีอาการบวมมาก่อนแล้วบวมขึ้นมา ถือว่าน่าสงสัย
- ปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น เวลาที่กดชักโครกหรือราดน้ำ แล้วเกิดฟอง ยิ่งมีฟองเยอะหรือหลายชั้น แสดงว่าผิดปกติ ทั้งนี้รวมไปถึงสีของปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น มีสีปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆ เหมือนน้ำล้างเนื้อ การเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ทั้งระหว่างวัน และตอนนอน หมายถึงมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งคนไข้ควรสังเกตอาการเหล่านี้
- เบื่ออาหาร ทานได้น้อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน
ระยะของโรคไต
โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะด้วยกัน โดยสามารถทราบระยะได้จากการตรวจเลือดและดูค่าของไต ที่เรียกว่า Creatinine มาวิเคราะห์ตามสูตร โดยคำนวนตามเพศ อายุ น้ำหนัก และคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
- 100% แสดงว่าปกติ
- ค่าระหว่าง 90% คือ ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 1
- ค่าระหว่าง 60% – 90% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 2
- ค่าระหว่าง 30% – 60% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 3 ซึ่งทั้ง 3 ระยะ แทบจะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น แพทย์ต้องทำการซักประวัติและสอบถามอาการอย่างละเอียด แต่หากคนไข้พบว่าตนเองเป็นโรคไต ตั้งแต่ในระยะต้นๆ ถือว่าโชคดี ที่จะทำการรักษา
- ค่าระหว่าง 15% – 30% ถือเป็นโรคไต ระยะที่ 4
- ค่าต่ำกว่า 15% เป็นโรคไต ระยะที่ 5 ถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ ไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการบำบัดทดแทนไตต่อไป
การป้องกันภาวะไตวาย
- ควบคุมอาหาร ลดเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก และยังเป็นการควบคุมความดัน
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ควรดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ เนื่องจากการดื่มน้ำไม่มีข้อห้ามใดๆ และมีผลดีต่อสุขภาพทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำรุงไต ให้ทนทานต่อสภาวะต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องคุมน้ำตาล
- หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ
- หากเกิดจากยาที่รับประทานเข้าไป ก็ต้องหยุดยา
- ควบคุมยาที่มีผลต่อไต หลีกเลี่ยงการทานยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณ หรือทานยาที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะยาสมุนไพร หรือยาแก้ปวด ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- หากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์วีรศักดิ์ แพร่ชินวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ภาพ : https://www.honestdocs.co/