โรคกระดูกพรุน มักจะพบในผู้ป่วยสูงวัย อายุเฉลี่ยประมาณ 60 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ และมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากในช่วง 5 ปีแรกของผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะสูญเสียมวลกระดูกมาก ทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว โรคกระดูกพรุนยังพบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ หรือผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร ซึ่งมีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและไตก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนเช่นกัน ตัวอย่าง 3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้วทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 1.โรคเบาหวาน (Diabetes) ภาวะกระดูกพรุนที่เกิดจากเบาหวานทั้ง 2 ประเภท โรคเบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) ซึ่งเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ โดยภาวะนี้มักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)…