กินยาอย่างไร ไม่ให้ “ไตพัง”?

ข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยกว่า 1 แสนคน เป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังในระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือด ซึ่งนอกจากต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่ายา รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติโดยตรง ทำให้ต้องเสียเวลาในการมาล้างไตทางช่องท้อง หรือมาฟอกเลือดเป็นประจำ และคงไม่มีใครที่อยากลางานสัปดาห์ละครั้งหรืออาจจะมากกว่านั้น หรือต้องสละเวลาที่จะได้ใช้ร่วมกันกับครอบครัวหรือคนที่คุณรัก เพื่อมานั่งฟอกเลือดที่โรงพยาบาลครั้งละ 4 – 5 ชั่วโมง/วัน ไปตลอดชีวิตจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายไตคืออีกทางเลือกหนึ่ง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง และโอกาสที่จะได้รับไตมาเปลี่ยนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และเมื่อได้เปลี่ยนไตแล้วก็ยังไม่จบเพียงเท่านั้น จะต้องดูแลไตที่ถูกเปลี่ยนถ่ายมาใหม่เป็นอย่างดี ด้วยการรับประทานยากดภูมิไปชั่วชีวิต ซึ่งยาก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง รวมถึงมีข้อปฏิบัติที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดและสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง โรคไตเรื้อรังเกิดจากสาเหตุใด เภสัชกรหญิงแพรพิไล สรรพกิจจานนท์ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า สาเหตุโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรคเบาหวาน และที่สำคัญคือ การใช้ยา และสมุนไพรที่ทำอันตรายต่อไต โดยผู้ป่วยโรคไตที่เกิดจากการควบคุมความดันโลหิตสูง…