ไอเรื้อรังไม่หาย ทำอย่างไรดี?

อาการไอ คือการขับลมผ่านเส้นเสียงที่ปิด เป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางดินหายใจ และยังเป็นหนึ่งในกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ โดยอาการไอจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีสิ่งกระตุ้นที่ตัวรับสัญญาณการไอเสียก่อน ซึ่งตัวรับสัญญาณการไอในร่างกายมีตั้งแต่ จมูก โพรงจมูก ช่องหู เยื่อบุแก้วหู ไซนัส คอหอย หลอดลม กล่องเสียง กะบังลม ปอด เยื่อหุ้มปอด กระเพาะอาหาร และเยื่อหุ้มหัวใจ เมื่อมีตัวไปกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมี สิ่งแวดล้อม หรือรอยโรคบางอย่าง ตัวรับสัญญาณการอก็จะส่งสัญญาณไปที่ศูนย์ควบคุมในสมอง และจะส่งสัญญาณต่อไปที่กล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการไอ เช่น กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อกล่องเสียง กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อหลอดลม และกล้ามเนื้อท้อง ทำให้เกิดการไอขึ้น เราสามารถแบ่งอาการไอตามระยะเวลาของอาการไอได้เป็น 2 ชนิด คือ ไอเรื้อรัง และ ไอเฉียบพลัน โดยการไอแต่ละชนิดมีสาเหตุมาจากอะไร…