กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ถือเป็นโรคอย่างหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยเข้าใจกันว่าภาวะปัสสาวะไวเกินมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันพบว่าในผู้ชายก็เป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมักพบร่วมกับภาวะต่อมลูกหมากโต และพบได้ในคนทุกวัย
อะไรคือสาเหตุ
ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ เชื่อว่าเกิดจากระบบประสาทบริเวณกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทําให้รู้สึกปวดปัสสาวะ ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เวลาปวดมักจะมีอาการรุนแรงมากจนต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที หรือมักจะตื่นขึ้นมากลางดึกเกินกว่า 1 ครั้ง เพราะปวดปัสสาวะจนทนไม่ไหว ในบางรายอาจจะถึงกับปัสสาวะราด หรือต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืนบ่อยๆ สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง คือ พบร่วมกับโรคทางระบบประสาทบางชนิด การอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ และภาวะหมดประจําเดือน ทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รบกวนการนอนหลับปกติ เวลาทำงานต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อยมากจนรู้สึกรำคาญ เวลาเดินทางไปไหนไกลๆ หรือรถติดบนท้องถนนก็มักจะรู้สึกปวดปัสสาวะกลางทาง สร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่อยากไปไหน ไม่กล้าเข้าสังคมเนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่จะไปหรือไม่
วิธีรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
1. ควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน
ไม่ควรดื่มมากจนเกินไป เพราะจำทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ควบคุมเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะเช่น ชา กาแฟ ในกรณีผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ ควรปรับเวลาทานยาขับปัสสาวะใหม่ให้เหมาะสม
สูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสม
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของแต่ละคน ในแต่ละวันไว้ดังนี้
น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C. (1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)
สมมติว่ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม 55/2 x 2.2 x 30 = 1815 C.C. 1815 C.C. = 1.8 ลิตร 1.8 ลิตร = 9 แก้ว
2. ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะโดยใช้ยา
ตัวยาหลักในการรักษาคือ Anticholinergic Drug อยู่ในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์คลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยลดการบีบตัวที่เร็วกว่าปกติ ยาในกลุ่มนี้มีอยู่หลายชนิด หลายราคาและผลข้างเคียงต่างกันไปตามชนิดยา
3. ฝึกกลั้นปัสสาวะ ( Bladder Training) แก้โรค ‘โอเอบี’ ปวดฉี่บ่อย
การฝึกวิธีนี้จําเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนําและติดตามผล
ใช้วิธีเพิ่มช่วงระยะเวลาในการเข้าห้องน้ำให้ห่างออกไปจากเดิม เช่น ปกติต้องเข้าห้องน้ำทุกๆ หนึ่งชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น หนึ่งชั่วโมงครึ่ง และ สองชั่วโมงตามลําาดับ วิธีฝึกแบบนี้จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะสามารถเก็บปัสสาวะได้มากพอโดยไม่มีอาการบีบตัวไวกว่าปกติ
4. ฝึกขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor Exercise)
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะช่วยให้สามารถกลั้นปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้นและลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะที่ไวกว่าปกติและบ่อยครั้งให้ลดลงได้
5. ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาทซาคราล (Sacral nerve stimulation)
การรักษาโดยวีธีนี้ต้องมีการผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าที่หน้าท้องและกระดูกก้นกบด้วย (Sacral bone) และต้องมีการทดสอบในช่วงแรกว่าได้ผล จึงผ่าตัดฝังเครื่องชนิดถาวรซึ่งมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี
วิธีนี้จะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะลง การรักษาวิธีนี้ยังอยู่ในระยะของการวิจัยและมีราคาแพง
6. การผ่าตัด
การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนหรืออาจนําลำไส้เล็กบางส่วนมาเย็บต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทําให้การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะไม่มีผลทําให้ปวดปัสสาวะบ่อย การผ่าตัดนิยมทําในรายที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผลเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนมาก
7. รักษาด้วยวิธีอื่นๆ
เช่นการใช้ยา Capsaicin ใส่ลงไปในกระเพาะปัสสาวะ วิธีนี้มีผลข้างเคียงสูง มักใช้เป็นทางเลือก
ในกรณีที่รักษาโดยวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก rtcog.or.th, pr.prd.go.th, thairath.co.th
ปัญหาเรื่องปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน เกิดจากภาวะไตเสื่อม ปัจจุบันมีผลงานการวิจัย โดย ศ.ดร. มณจันทร์ เมฆธน หัวหน้าภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำงานทดลอง โดยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน รับประทาน ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย) ชนิดแคปซูล โดยขนาดที่รับประทานคือ ตอนเช้า 1 แคปซูล และ ก่อนนอน 1 แคปซูล ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดอาการปัสสาวะบ่อยลงได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
หมายเหตุ : ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลง แล้วแต่บุคคล