โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด และไขมันสูง
หัวใจเป็นอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกด้านซ้าย ตั้งอยู่ระหว่างปอดซ้ายและปอดขวาค่อนมาทางด้านซ้าย มีหน้าที่สำคัญคือการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจทำให้โลหิตไหลเวียน ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ทุกชนิดทางหลอดเลือดแดง และนำคาร์บอนไดออกไซด์(carbon dioxide) จากเซลล์ของร่างกายกลับมาทางหลอดเลือดดำเพื่อปล่อยออกไปกับลมหายใจออกโดยที่หัวใจจะทำหน้าที่ร่วมกับปอดเสมอ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (รวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และความดันโลหิตสูง) เป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตในแต่ละปีมากถึง 29% ในความเป็นจริงแล้ว โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดมีความหมายกว้างมากเพราะอาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือมีความสัมพันธ์กับหัวใจนั้นมีไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆ ที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประวัติอาการโดยละเอียดร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการตรวจพิเศษต่างๆ เช่น ปัสสาวะ เลือด เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆ ที่มีอาการคล้ายกัน
6 อาการผิดปกติที่บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็น “โรคหัวใจ”
- เหนื่อยมากเวลาออกกำลังกายเนื่องจากหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในขณะที่เราออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักมากขึ้น โดยปกติแล้วเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการของโรคหัวใจในระยะเริ่มต้น ถึงแม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอก มักพบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด และ หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ แน่นบริเวณกลางหน้าอก รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ไม่ให้ขยายตัวเวลาหายใจ ส่วนมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ใช้แรงมากๆ หรือระหว่างการออกกำลังกาย เป็นต้น
- ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่ในรายที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจสูงถึง 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้ใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน
- ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ หรือเหนื่อยทั้งที่ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย ในรายที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนคนปกติ เพราะจะรู้สึกอึดอัดบริเวณหน้าอก และรู้สำเหนื่อยเวลาหายใจ นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
- หัวใจหยุดเต้นกะทันหันในกรณีนี้มักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้า และมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่เกี่ยวกับหัวใจโดยตรง ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- เป็นลมหมดสติผู้สูงอายุมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจที่เสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ อย่างไรก็ตาม การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่าท่านั่ง ทำให้เวลาล้มลง ศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า
นอกจากนี้อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเองก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้ทราบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ คือ
- เท้าหรือขาบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งอาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นกับใครควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างเร่งด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว
- ริมฝีปาก ปลายมือ และปลายเท้า มีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องซ้ายกับห้องขวามีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดดำกับเลือดแดง และทำให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง
โรคหัวใจ ที่ตรวจพบอาการผิดปกติในระขณะตรวจร่างกาย
การตรวจสุขภาพประจำปี ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้เราทราบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือไม่ คือ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีไขมันในเลือดสูง หรือเป็นเบาหวาน ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นเดียวกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน ไม่ควรนิ่งนอนใจ
รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคระบบหัวใจ ไขมันสูงและอาการอ่อนล้า
ความสามารถด้านการควบคุมการเต้นของหัวใจและช่วยแก้ไขภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ถือเป็นอีกหนึ่งสรรพคุณสำคัญของถั่งเช่าที่เป็นที่ทราบกันดี ปัจจุบันสมุนไพรถั่งเช่าถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของยาที่แพทย์ในประเทศจีนเลือกและแนะนำให้ใช้สำหรับรักษาอาการของโรคที่ร้ายแรงนี้ ในขณะที่กลไกการออกฤทธิ์ของถั่งเช่าในการแก้ไขภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานว่ามาจากสารอะดีโนซีน(Adenosine ) และ ดีออกซี่อะดีโนซีน (คอร์ไดซิพิน) ในถั่งเช่า (Pelleg และ Porter 1990) สารเหล่านี้มีผลต่อการไหลเวียนโลหิตทั้งที่สมองและหัวใจ (Toda และคณะ 1982) (Berne 1980) ผู้ป่วยที่ทานถั่งเช่าจะมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ถั่งเช่ายังไม่มีผลทางลบต่อยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและด้วยความเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง ถั่งเช่าจึงถูกใช้เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคหัวใจและโรคอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ในการศึกษาคนไข้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ทานถั่งเช่าเป็นเวลานานร่วมกับการรักษาโดยทั่วไปที่ให้ยาบางชนิด เช่น ได,ox.ซิน , hydro,คลอโร.thai,side), do,ปา.mine และ โด,bu.ta,มีน พบว่าคุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางกายภาพทั่วไป การทำงานของหัวใจ ความจำ สมรรถภาพทางเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (Chen 1995)
Chiou และคณะ (2000) พบว่าหนูที่ถูกทำให้สลบจะมีความดันโลหิตลดลงหากได้รับถั่งเช่าสกัดในปริมาณ 32 PPM ถั่งเช่ามีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยให้หลอดเลือดแดงใหญ่ผ่อนคลายในหนูทดลองที่ถูกทำให้มีอาการภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารเคมีอะโคนิทีน หรือแบเรียมคลอไรด์(Barium chloride) ส่วนในหนูตะเภาที่ถูกทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็วจากสารอัวเบน (ouabain) ต้องเพิ่มปริมาณของสาร ouabain มากขึ้นกว่าเดิมจึงจะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ถั่งเช่าช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจของหนูที่ถูกทำให้สลบและลดการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดลิ้นหัวใจหรือหัวใจห้องบนของหนูตะเภา (Mei และคณะ 1989)
ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : goiheart.com
สอบถามข้อมูล/สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย(CordyThai)
อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์