โรคไขมันในเลือดสูง
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
- รับประทานอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
- ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
- พันธุกรรม
ไขมันในเลือดที่สำคัญ
- โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แหล่งโคเลสเตอรอลในอาหารพบมากใน ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก เครื่องในสัตว์ นม เนย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL / เอช ดี แอลโคเลสรอล) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ป้องกันการเกิดภาวะเลือดแดงแข็ง
1.2 โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL / แอล ดี แอลโคเลสเตอรอล) หากมีระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
- ไตรกลีเซอร์ไรด์ ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองจาก แป้ง น้ำตาล แอลกอฮอล์ และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหารที่รับประทาน สามารถทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
เป้าหมายในการควบคุม
- โคเลสเตอรอลรวม <200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL / เอช ดี แอลโคเลสรอล)
ผู้ชาย > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้หญิง > 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร - โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL / แอล ดี แอลโคเลสเตอรอล) < 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ไตรกลีเซอร์ไรด์ < 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร( < 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
เอาชนะอุปสรรคด้วยการเลือกอาหาร
- เลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต มันสมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน สำหรับเครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย จำกัดครั้งละ 2-3 ชิ้น
- เลี่ยงรับประทานไขมันสัตว์ เช่น มันหมู สันคอหมู หมูสามชั้น ขาหมูติดมัน ก้นไก่ ก้นเป็ด หนังเป็ดพะโล้ มันไก่ หากจะรับประทานไก่ ให้เลือกส่วนอก และควรลอกหนังออก ใช้เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย เช่น ปลา และไก่ไม่ติดหนัง (เลือกทานไก่บริเวณอก)
- เลี่ยงรับประทานไขมันจากน้ำมะพร้าวแก่ เช่น กะทิข้น ควรงดแกงเขียวหวาน แกงเผ็ดใส่กะทิ แกงกะหรี่ แกงคั่ว ฯลฯ ก๋วยเตี๋ยวแกง (แขก) ข้าวซอยใส่กะทิ ฯลฯ ควรใช้กะทิเทียม (ทำจากน้ำมันรำข้าว) หรือนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยแทน
- กะทิ สำหรับขนมใส่กะทิ (จากมะพร้าว) เช่น ขนมปลากริมไข่เต่า กล้วยบวชชี บัวลอย แกงบวดต่างๆ เต้าส่วน สาคูเปียก สามารถใช้กะทิเทียมหรือกะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทนได้เช่นเดียวกัน
- เลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู มันไก่ มาหลอมเป็นน้ำมันเพื่อปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวเป็นหลักในการผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป และใช้น้ำมันพืชอื่นๆบ้าง
- เลี่ยงแหล่งไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น คุกกี้ เค้ก ขนมพัฟและพาย มันฝรั่งทอด (French fried) น้ำมันทอดซ้ำ
- ลดอาหารที่เติมน้ำตาล ทั้งขณะปรุงประกอบอาหาร หรือเติมขณะกินอาหาร ขนมหวานจัด เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลได้จากฉลากโภชนาการ)
- เลี่ยงการสูบบุหรี่
- เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชูกำลังทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดริ้งต่อวัน ได้แก่ เหล้า 45มิลลิลิตร หรือ เบียร์ 1 กระป๋อง หรือ ไวน์ 150 มิลลิลิตร)
- เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย
- เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงเหลือง แกงส้ม แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลาย่าง ปลานึ่งกับผัก มะเขือเผา(ไม่ไหม้) อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย แทน อาหารผัดน้ำมันนองจาน อาหารทอดอบน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด
- เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง (อย่างไรก็ตาม ไขมันชนิดโอเมก้า 3 จัดเป็นไขมันชนิดหนึ่งในผู้ที่รับประทานในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้)
- เลือกรับประทานไอศกรีมไขมันต่ำหรือเชอเบท แทนไอศกรีมกะทิและไอศกรีมที่ทำจากครีมและนม
- เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ (นมพร่องมันเนย) แทนนมสดครบส่วน
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ควรสังเกตเครื่องหมาย อย. รวมถึง วัน เดือน ปี ที่ผลิต และเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท
- การเลือกซื้อน้ำมัน ต้องคำนึงถึงวิธีการปรุงประกอบด้วย เช่น ถ้าเป็นเมนูอาหารทอด ต้องเลือกน้ำมันที่ทนความร้อนได้ดี ไม่เสื่อมสภาพได้ง่าย เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน และควรใช้ครั้งเดียว ไม่ควรทอดซ้ำ สำหรับน้ำมันที่ไม่เหมาะสมกับการทำเมนูทอด ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย เพราะเสื่อมสภาพเร็ว ทนความร้อนได้ไม่ดี ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ถ้าทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด
- น้ำมันหีบเย็น เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว สำหรับคนที่ชอบกินสด ไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับทุกคน น้ำมันชนิดใดก็ตามเมื่อคิดสัดส่วนพลังงานแล้วได้พลังงานที่มีค่าเท่ากัน สามารถทำให้อ้วนได้เช่นกัน ควรทานให้ถูกสัดส่วนและปริมาณที่กำหนด
- สำหรับเมนูอาหารผัดหรือทำน้ำสลัด ก็สามารถใช้น้ำมันพวกนี้ได้ (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย)
ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย (ถั่งเช่า ม.เกษตร) มีส่วนประกอบของสาร Polysaccharides และ Unsaturated fatty acids มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มไขมัน High-density lipoprotein(HDL) ที่เป็นไขมันชนิดดี และช่วยกำจัดไขมัน LDL ที่เป็นไขมันไม่ดีในเส้นเลือด ซึ่งจะช่วยลดไขมันในกระแสเลือดและไขมันตามผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคเกี่ยวกับความดัน หัวใจและหลอดเลือด ได้เป็นอย่างดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/สั่งซื้อ
Call Center : 089-634-5485
Line ID : คลิ๊กที่นี่ https://line.me/R/ti/p/%40haj7245q
Website: https://ถั่งเช่าสกัดคอร์ดี้ไทย.com/หรือ http://bit.ly/siamhealthcare
ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ.นิพาวรรณ ไวศยะนันท์
หน่วยระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrinology) ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และนักกำหนดอาหาร
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- บทความ เรื่อง น้ำมันบริโภค กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- อาหารเพื่อควบคุมไขมัน โดย อ.พัชราณีภวัตกุล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ไขมันในเลือดสูง โดย พญ.พร้อมพรรณ พฤกษากร
- หนังสือ กินอย่างไรสุขภาพดี โดย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ภาพประกอบ : nonthavej.co.th