อาหาร อาหารเสริม สำหรับ วัยทอง

  • เมื่ออายุมากขึ้นระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และย่อยง่าย จะช่วยลดอาการวัยทองได้
  • ระดับฮอร์โมนเพศจะลดลงเมื่อเข้าสู่วัยทอง ทำให้อารมณ์แปรปรวน จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น ธัญพืช, ข้าวกล้อง ,ถั่วชนิดต่างๆ, ดาร์กช็อกโกแลต, กล้วย,ปลาแซลมอน, ไข่, เต้าหู้ และน้ำเต้าหู้
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง ทำให้มีไขมันสะสม เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวาน

เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 40 – 50 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ทั้งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง และ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย วัยทองจึงถือเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง ระดับฮอร์โมนที่ลดลง ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อารมณ์แปรปรวน, ร้อนวูบวาบ, หลงลืมง่าย, นอนหลับยาก, เหงื่อออกในเวลากลางคืน รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และอ้วนลงพุง

การรับประทานอย่างเหมาะสม รู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและปัญหา รวมถึงผลกระทบจากอาการวัยทอง รวมถึงช่วยให้มีสุขภาพที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

หลักการบริโภคอาหารในวัยทอง

นอกเหนือจากปัญหาวัยทองแล้ว อายุที่มากขึ้นระบบเผาผลาญของร่างกายยังทำงานน้อยลงอีกด้วย ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ ย่อยง่าย และมีกากใยสูง จะช่วยลดอาการวัยทองในระยะเริ่มต้นและระยะยาว อีกทั้งยังช่วยให้ผิวพรรณดี รวมถึงป้องกันโรคที่อาจเกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกิน

อาหารที่ควรรับประทาน

วัยทองมักมาคู่กับอารมณ์แปรปรวนง่าย เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศลดลง อาหารที่ควรรับประทานเป็นประจำ ควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่างๆ ปลาแซลมอน ไข่ กล้วย ดาร์กช็อกโกแลต เต้าหู้ และน้ำเต้าหู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่มาจากถั่วเหลืองทุกชนิด ควรรับประทานเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย

นอกจากนี้แล้ววัยทองยังมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน มีโอกาสที่จะกระดูกแตกหักได้ง่าย จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักใบเขียวและผลไม้ ซึ่งผักและผลไม้ส่วนใหญ่มีธาตุโบรอน (boron) ช่วยเพิ่มความสามารถในการกักฮอร์โมนเอสโตรเจนและช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมได้ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น ราสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ รวมถึงองุ่น แอปเปิ้ล และส้ม ทั้งนี้ผักในตระกูลกะหล่ำก็อุดมไปด้วยธาตุโบรอน ได้แก่ ดอกกะหล่ำ บล็อกโคลี หัวไชเท้า แขนงผัก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นยังช่วยเพิ่มวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงกากใยยังช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูกเรื้อรัง และช่วยให้สบายตัว ทั้งนี้ในผักและผลไม้ยังอุดมไปด้วยสารไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยบรรเทาอาการวัยทองลงได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารบางชนิดอาจไปกระตุ้นให้ภาวะวัยทองมีอาการมากขึ้นได้ เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน ทั้งนี้การดื่มชากาแฟเป็นประจำยังส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดหรือเผ็ดร้อน อาหารที่มีไขมันสูง ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว รวมถึงอาหารแปรรูป เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจนลดต่ำลง ทำให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง อ้วนได้ง่าย ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวาน

แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ

นอกจากอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงแล้ว การแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ โดยรับประทานครั้งละน้อยๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดคงที่ ร่างกายไม่รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย

ทั้งนี้ไม่ควรอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงได้ตลอดทั้งวัน ส่วนอาหารมื้อเย็นอาจลดปริมาณคาร์โบรไฮเดรทลง โดยเพิ่มเป็นโปรตีนไขมันต่ำและย่อยง่ายแทน เช่น เนื้อปลา หรือ อกไก่

 

แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับวัยทอง มีดังนี้

ปัญหา เลือกกินอาหาร จำกัด/หลีกเลี่ยงอาหาร
1. ไขมันในเลือดสูง ·         ไขมันอิ่มตัวต่ำ
ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดเช่นเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว นมหรือโยเกิร์ตพร่องมันเนย เต้าหู้ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง (เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัทอัลมอนด์ ถั่วลิสงฯลฯ)·         คอเลสเตอรอลต่ำ
เช่น เต้าหู้ ไข่ขาว ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน·         อาหารโอเมก้า 3 สูง
ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเช่นแฟลกซ์ซีดวอลนัท ปลาทู ปลาทูน่า ปลาสวาย ปลากะพง ปลาช่อน ปลาแซลมอน ปลาดุก·         อาหารกากใยสูง
เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท พาสต้าโฮลวีท ลูกเดือย ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ผักและผลไม้สด

·         ปรุงอาหารที่ให้พลังงานต่ำ
เช่น ต้ม ตุ๋น อบ นึ่ง ยำ ย่าง

·         ไขมันอิ่มตัวสูงมีผลทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน, เครื่องในสัตว์, หนังสัตว์, เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก กุนเชียง, แหนม, เบคอน, แฮม ฯลฯ) กะทิ, เนย, นมข้นหวาน, ครีม,น้ำมันจากสัตว์, น้ำมันปาล์ม,

·         น้ำมันมะพร้าว

·         อาหารที่มีไขมันทรานส์
เช่น ครีมเทียม, เนยแข็ง, เบเกอรี่ ,ขนมอบกรอบ และ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ

·         คอเลสเตอรอลสูง
เช่น ไข่แดง ไม่เกิน 2 ฟอง/สัปดาห์เครื่องในสัตว์, หอย, กุ้,ง ปู ,ปลาหมึก, มันปูและกุ้ง ไข่ปลา

·         อาหารที่มีน้ำตาลสูง
ซึ่งเพิ่มไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น คุ้กกี้,เค้ก, ไอศกรีม, ช็อคโกแลต, พาย, น้ำหวาน, น้ำอัดลม, ขนมหวาน, น้ำผลไม้

·         อาหารผัดมันๆ ของทอด

2. เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจและหลอดเลือด/น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ·         ดูแนวทางการรับประทานอาหารเช่นเดียวกันกับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

·         ผลไม้สดตามฤดูกาล
เช่น ส้ม ฝรั่ง ชมพู่

·         แก้วมังกร สาลี่ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ บลูเบอร์รี่ สตอเบอร์รี่

·         เครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลน้อย
หรือไม่เติมน้ำตาล
เช่น นมถั่วเหลืองไขมันต่ำ น้ำมะตูม น้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ น้ำชานมสดหรือ

·         ลดอาหารเค็ม
ควรใช้เกลือปรุงอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน หรือใช้ซีอิ้ว น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ ไม่เกิน 3 ช้อนชา/วัน สามารถใช้เครื่องเทศชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติแทนได้ เช่น มะนาว มะกรูด พริก พริกไทย หัวหอม กระเทียม โหระพา ตะไคร้

·         ผลไม้รสหวานจัดเช่น ทุเรียน, ลำไย ,ขนุน, ละมุด, น้อยหน่า

·         เครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลมาก
เช่น กาแฟ, โอเลี้ยง, ชาเย็น, น้ำผลไม้, น้ำอัดลม, น้ำหวาน, นมเปรี้ยว, นมหรือนมถั่วเหลืองที่ปรุงแต่งรสหวาน

·         อาหารแปรรูป
เช่น อาหารกระป๋องที่เค็ม หวาน (ดูจากฉลากโภชนาการ) ของหมักดอง ,ปลาเค็ม, เนื้อเค็ม, ไส้กรอก, หมูยอ ,กุนเชียง, ผลไม้กวน, ผลไม้ตากแห้ง ,ผลไม้แช่อิ่ม

3. กระดูกพรุน ·         ไฟโตรเอสโตรเจน
เป็นสารที่พบได้ในพืช ช่วยสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดการเกิดภาวะกระดูกพรุน ซึ่งมักพบในข้าวกล้อง ฟักทอง ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วเขียว บล็อคโคลี่ กะหล่ำปลี แครอท มันฝรั่งมะละกอ·         แหล่งของแคลเซียม
ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกมักพบในปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย โยเกิร์ต นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ยอดแค ผักกาดเขียว ผักคะน้า มะเขือพวง ถั่วลันเตา ยอดใบขี้เหล็ก ถั่วแดงหลวง·         รับวิตามินดีให้เพียงพอ
เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ ทุกวัน ครั้งละ 15 นาที
·         อาหารที่มีไฟเตตและออกซาเลตสูง
จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เช่นใบชะพลู, ใบยอ, หน่อไม้, ผักโขม, ใบชา, ปวยเล้ง ด้วยเหตุนี้ควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ห่างจากอาหารที่มีแคลเซียม ประมาณ 3ชั่วโมง
5. ร้อนวูบวาบ ·         แหล่งของไฟโตรเอสโตรเจน
(ตามหัวข้อกระดูกพรุน)
·         เครื่องดื่มร้อนๆ อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
4. นอนไม่หลับ ·         ทริปโทเฟน
คือ กรดอะมิโน(amino acid) ที่เป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน(melatonin) และเซโรโทนิน(serotonin) มีส่วนช่วยในการนอนหลับซึ่งมักพบใน ไก่ ไข่ไก่ นม ปลาทูน่า เมล็ดทานตะวัน ไก่งวง เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กล้วย ข้าวโอ๊ต
·         เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น
กาแฟ, ชา, น้ำอัดลม

วัยทอง อาการ อาหารเสริม ช่องคลอดแห้ง ปวดข้อ

ขอขอบคุณ
ข้อมูล : นายแพทย์ สุรพล ภูยานนท์ แพทย์ด้านสุขภาพสตรี โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
ภาพ  : health4senior.com

 

อาหารสุขภาพ ควรกิน-ควรงด สำหรับ “วัยทอง”