ไตรกลีเซอร์ไรด์,คอเลสเตอรอลสูง

ผลการรวจเลือดออกมาแล้ว ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglycerides) ทำไมสูงขึ้นผิดปกติ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา และต้องปฎิบัติตัวอย่างไร? วันนี้ ถั่งเช่า ม.เกษตร(คอร์ดี้ไทย) จะพาทุกท่านมารู้จักกันก่อนว่า ไตรกลีเซอไรด์ ที่ว่านี้ คืออะไร

ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) คืออนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเล็กและเบาบางมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ออกมา ไขมันชนิดนี้ยังมาจากการทานอาหารเข้าไปด้วย  อาหารประเภทไขมันส่วนใหญ่ จะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์รวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรือ อาหารชนิดต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีไขมันซ่อนอยู่ด้วย รวมถึงน้ำมันพืช เมื่อเราได้รับอาหารชนิดดังกล่าวเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมและส่งไตรกลีเซอไรด์ผ่านเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกายที่ต้องการพลังงาน

ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ที่มีปริมาณมากเกินไปจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน(Body Fat) และพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนทำให้ร่างกายอ้วนท้วนขึ้น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มมีปัญหาแล้ว ?

โดยปกติแล้ว ร่างกายสามารถกำจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาแค่ 2-3 ชั่วโมงหลังจากการทานอาหาร  ไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ก็จะถูกขับออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว  คนปกติจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  แต่เมื่อไหร่ก็ตามหากตรวจเลือด หลังอดอาหารมาแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง พบว่า ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด มีปริมาณสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป นั่นหมายถึง ร่างกายเริ่มมีปัญหาในการกำจัดไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้อย่างไร ?

ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงผิดปกติ  เกิดจาก

  • ทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน ได้รับแคลอรี่หรือพลังงานมากเกินไป
  • ทานอาหารประเภทของหวาน หรืออาหารที่มีไขมัน ในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายผลิตไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป
  • การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้นเช่นกัน
  • การทานยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด  ฮอร์โมนเพศหญิง ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์

นอกจากนี้ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง  ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อ้วนลงพุง  โรคเบาหวานชนิดที่สองหรือชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน คนที่เป็นโรคไต คนที่เป็นโรคตับ และคนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ทั้งนี้สืบเนื่องจากกลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป

ไตรกลีเซอไรด์กับปัญหาสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ที่ถูกสะสมในกระแสเลือดมากผิดปกติ  จะทำให้มีความเสี่ยงดังนี้ :-
1) โรคหัวใจ
โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต เช่นเดียวกับ การที่คอเลสเตอรอลสูง เพราะไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) มีปริมาณสูงจะทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่ม และอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ส่วนสมอง และหัวใจ

2) โรคตับ
ในรายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงมากๆ จะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้

3) โรคมะเร็งเต้านม
ในเพศหญิง ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูงมากๆ ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen)ที่ไหลเวียนอยู่สูงตามขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม

แหล่งอาหารชนิดใดบ้าง ที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง

1) อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์
2) ขนมหวานทุกชนิด อาหารที่มีรสหวานจัด เนื่องจากร่างกายจะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
3) อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เช่น เครื่องในสัตว์ต่างๆ ตับ หนังไก่ หนังเป็ด
4) อาหารประเภทแป้ง เช่น ช๊อคโกแลต

วิธีควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์

  1. ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
    ควรลดอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล เนื่องจากอาหารในกลุ่มนี้ หากเหลือใช้ จะถูกอินซูลิน เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ควรการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/อาทิตย์
  3. เน้นทานอาหารประเภทกากใยต่าง ๆ
    เน้นทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น คะน้า บล็อกเคอรี่ ผักกาด เพราะกากใยอาหารที่ได้จากผัก และ ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่างๆ มีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ ลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) เพิ่มขึ้นด้วย
  4. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไวน์ หรือเบียร์ ล้วนมีส่วนประผสมของน้ำตาลด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  6. งดสูบบุหรี่
    บุหรี่ มีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) มากขึ้น สารนิโคติน(Nicotine) ในบุหรี่ ยังให้โทษต่อร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายหลายชนิดอีกด้วย
  7. เน้นทานสมุนไพร
    หนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้คือ ไรซ์เจิร์ม(Rice Germ) หรือ ข้าวยีสต์แดง มีคุณสรรพคุณในการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และไขมันชนิดไม่ดี อย่างเห็นผลชัดเจน

สนับสนุนข้อมูล : ถั่งเช่า ม.เกษตร(คอร์ดี้ไทย)
ภาพประกอบ : http://www.questforhealth.com

ไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglycerides) ในเลือดสูง…ไม่ควรประมาท !