ถั่งเช่า รักษา ไตเสื่อม

ไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดงอยู่บริเวณส่วนล่างของช่องท้อง ทำหน้าที่ กรองเอาของเสีย เกลือแร่และน้ำส่วนเกิน และจะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ ทำให้เกิดการรักษาสมดุลระหว่างน้ำกับเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะขับของเสีย เช่น แอมโมเนียมและยูเรีย และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต ดังนั้น จะสังเกตได้ว่าหากไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย

ทางมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยได้รวบรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตไว้ดังนี้คือ

  1. กรรมพันธุ์ โรคไตบางชนิดเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) ที่มีทั้งแบบที่เกิดกับทารกซึ่งมักจะทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่เกิด และแบบที่เกิดกับผู้ใหญ่ที่จะพบความผิดปกติเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตจากกรรมพันธุ์ก็พบน้อยมากแต่ถ้ามีใครคนหนึ่งในครอบครัวเป็นโรคไตขึ้นมาโอกาสที่เครือญาติพี่น้องจะเป็นด้วยก็มีสูงถึง 90% ดังนั้นในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคไต จำเป็นที่จะต้องไปตรวจสุขภาพกันทั้งครอบครัว
  2. โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลกระทบต่อไตด้วย หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง นานๆ ไตก็เสื่อมลง จนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรัง ราว 30%-50% ล้วนเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันคนที่เป็นโรคไตบางชนิด ก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกัน
  3. โรคเบาหวาน ถือเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดของไต ทำให้มีสารแขวนลอยปนออกมากับปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการกรวยไตอักเสบได้ หากเป็นบ่อยๆ นานๆ เข้า ก็จะทำให้ไตอักเสบ ไตวายและยังมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมาอีกด้วย
  4. ความอ้วน เนื่องจากคนอ้วนจะมีเมตาบอลิซึม(Metabolism) สูงกว่าคนปกติ ทำให้เกิดของเสียต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น ไตซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียก็จะทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย
  5. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น สังขารของร่างกายก็ร่วงโรยไปตามวัย เช่นเดียวกับ ”ไต” ที่จะเริ่มเสื่อมสภาพเมื่ออายุย่างเข้า 35 ปี นั่นหมายถึงยิ่งมีอายุมากขึ้น ไตก็จะยิ่งเสื่อมสภาพตามอายุไปด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศชาย มีความเสี่ยงที่จะพบปัญหาต่อมลูกหมากโตสูงขึ้น ทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันและส่งผลกระทบต่อไตได้
  6. อาหาร อาหารบางชนิดหากรับประทานเข้าไปมากๆ จะเป็นอันตรายต่อไต เช่น อาหารรสเค็มจัดที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงและส่งผลกระทบต่อไต รวมถึงอาหารกลุ่มโปรตีนที่มีงานวิจัยพบว่าเนื้อสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูปและอาหารที่ใส่สารเคมีเพื่อให้เก็บได้นานขึ้น ถือเป็นของเสียในร่างกาย หากทานเข้าไปมากๆ จะมีของเสียเหลือตกค้างในร่างกายมาก ทำให้ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียทำงานหนักมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ควรเลือกทานโปรตีนจากไข่ขาวหรือเนื้อปลา เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีคุณภาพสูง
  7. ยา เช่น ยาแก้ข้อกระดูกอักเสบ (พวก N SAID) เป็นยาที่ไม่ส่งผลดีต่อไต ที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้ รวมถึงสารทึบรังสีบางชนิดที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยเวลาตรวจทางเอกซเรย์ก็ส่งผลให้ไตวายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นหากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
  8. อาชีพและอุบัติเหตุ คนที่มีอาชีพเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น นักมวยที่อาจถูกเตะต่อยบริเวณไต รวมถึงคนที่ทำงานในโรงงานก็อาจได้รับสารพิษจากการสัมผัสหรือสูดดม สะสมในไตมาเป็นเวลานาน

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคไต

  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  2. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  4. ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในไต
  5. ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง
  6. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  7. ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไต
  8. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  9. ผู้ที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ต่ำกว่า 2,500 กรัม
  10. ผู้ที่ได้รับสารพิษจากยาบางชนิด หรือสารแปลกปลอมอยู่เป็นประจำ หรือมากเกิน

จากปัจจัยเสี่ยงทั้ง 10 ข้อ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็น 2 โรคสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังได้มากที่สุด

การตรวจเพื่อดูความผิดปกติของไต

  1. ตรวจปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไตอักเสบ โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่นๆ สิ่งที่ตรวจหาคือโปรตีนรั่วหรือไข่ขาวรั่ว เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และนำปัสสาวะไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเม็ดเลือดแดง และตะกอนต่างๆ
  2. ตรวจเลือด อาจพบว่ามีระดับของเสียเพิ่มขึ้น เช่น ค่ายูเรียในรูปของ BUN (Blood Urea Nitrogen : เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนที่พบในกระแสเลือด ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งที่ไต หากไตไม่สามารถกำจัดยูเรียหรือของเสียได้ จะพบปริมาณไนโตรเจนในรูปของยูเรียมีปริมาณสูง ค่าปกติคือ 8-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) และครีอะตินีน (creatinine : ซึ่งแปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ และถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมสภาพจึงมีค่านี้สูง ค่าปกติในผู้ใหญ่ คือ 0.7-1.3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ และน้ำหนักด้วย
  3. การตรวจทางรังสีหรืออัลตร้าซาวน์(ultrasound) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของขนาดไต เนื้อไต หรือดูการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  1. การตรวจหาอัตราการกรองของไตโดยการคำนวณหาอัตราการกรองของไตในหนึ่งนาทีเรียกว่าจีเอฟอาร์ (GFR : Glomerular Filtration Rate) คืออัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตภายในหนึ่งนาที ค่าที่ได้นี้คำนวณจากค่าครีอะตินีน(Creatinine)กับอายุ ซึ่งคนปกติค่า GFR เท่ากับ 125 มล./นาที หมายถึงไตสามารถกรองได้ปริมาตร 125 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นตัวบอกระดับความรุนแรงของโรคไตเรื้อรัง ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่ 1 ค่า GFR ≥ 90 มล./นาที (ไตเริ่มเสื่อม แต่อัตราการกรองยังปกติดี)
  • ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 มล./นาที (ไตเริ่มเสื่อม อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย)
  • ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 มล./นาที (อัตราการกรองลดลงปานกลาง)
  • ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 มล./นาที (อัตราการกรองลดลงมาก)
  • ระยะที่ 5 ค่า GFR < 15 มล./นาที (ไตวาย ต้องฟอกไต)

สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การตรวจเลือดอาจพบว่าค่า creatinine ปกติแต่ค่า GFR จะต่ำจึงอาจจะต้องตรวจด้วยการเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหา น้ำตาลโปรตีน เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง รั่วไหลออกมากับปัสสาวะหรือไม่ มากหรือน้อยเพียงใด

รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคไต

ถั่งเช่าได้ถูกกล่าวขานมาแต่โบราณในเรื่องสรรพคุณที่สามารถบำรุงไต ช่วยให้ไตมีสุขภาพดีขึ้นได้ถึงแม้จะล้มเหลวไปแล้วก็ตาม ในบรรดาอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรานั้น ไตถือเป็นอวัยวะที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดี หากไตเริ่มเสื่อมสภาพอาการที่แสดงออกมามีมากมาย เช่น ปวดข้อและหลัง เหนื่อยล้าไม่มีแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาการมีเสียงในหู เป็นต้น ถั่งเช่าช่วยรักษาสมดุลของไต ทำให้ไตมีสุขภาพดีได้ เนื่องจากช่วยเพิ่มระดับของ 17-hydroxy-corticosteroid และ 17-ketosteroid (Zhu และคณะ 1998) ถั่งเช่าได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคไตต่างๆ เช่น กรวยไตอักเสบเรื้อรัง โรคไตอักเสบเรื้อรัง ไตล้มเหลว หรือความผิดปกติของไตเรื้อรัง และโรคเนฟริติก (nephritic syndrome เป็นโรคไตอักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของกรวยไต ที่ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทั้งตัวแต่ไม่มีไข้) (Feng และคณะ 2008)

ภาวะไตวายเรื้อรังเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งซึ่งมักพบในคนสูงวัย จากการศึกษาให้คนที่มีปัญหาไตวายเรื้อรังจำนวน 51 คน รับประทานถั่งเช่า วันละ 3-5 กรัม พบว่าภูมิคุ้มกันโดยรวมของคนไข้ดีขึ้น การทำงานของไตดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทานถั่งเช่า (Guan และคณะ 1992)

คนไข้ที่เป็นโรคไตเสื่อมหรือไตวายเรื้อรังมักมีปัญหาที่ตามมาคือ ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง และโปรตีนสูงในปัสสาวะ จากการศึกษาโดยให้คนที่มีปัญหาไตวายเรื้อรัง รับประทานถั่งเช่าเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าความดันโลหิตลดลง 15% อาการของโปรตีนสูงในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ SOD (superoxide dismutase) การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ SOD มักพบควบคู่กับการลดลงของ serum lipoperoxide ซึ่งบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการถูกทำลายของเซลล์ไต (Jiang และ Gao 1995)

อีกการทดลองหนึ่งได้ทำในโรงพยาบาลกับคนไข้จำนวน 57 คน ที่ไตบกพร่องจากการได้รับยาปฏิชีวนะ ไม.cin, เจ็น ta โดยให้คนไข้รับประทานถั่งเช่า วันละ 4.5 กรัม เป็นเวลา 6 วัน เปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ กลุ่มทดลองที่ได้รับประทานถั่งเช่ามีการทำงานของไตดีขึ้นถึง 89% ของการทำงานที่เป็นปกติ ในขณะที่กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับถั่งเช่า) มีอาการดีขึ้น 45% ของการทำงานที่เป็นปกติและระยะเวลาที่ไตทำงานได้ดีขึ้นก็เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นี่เป็นเพียงแค่ 2-3 ตัวอย่างจากการทดลองมากมาย ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าถั่งเช่าช่วยดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีของไต ทำให้ไตที่ถูกทำลายหรือเป็นโรคกลับมาทำงานได้ดีขึ้นมาก

ถั่งเช่ายังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ DNA(ดีเอ็นเอ)ในเซลล์เยื่อบุผิวรูปทรงสูงของท่อไตในหนูทดลอง (Tian และคณะ 1991) และยังช่วยปกป้องเซลล์ที่เป็นหน่วยย่อยของท่อขดส่วนต้น จากพิษของยาปฏิชีวนะเจ็น ตา ไมซิน(Gentamicin) กลไกที่เกิดขึ้นคือช่วยการป้องกันการดูดกลับเกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอาหารบางชนิด เช่น กรดอะมิโนและกลูโคส ช่วยลดการเกิด lipid per oxidation (คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อ อนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับกรดไขมันไม่อิ่มตัวในผนังเซลล์เกิดเป็น lipid peroxide ซึ่งจะเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากชั้นในของเยื่อหุ้มเซลล์ขึ้นมาอยู่บนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์และเกิดการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์) (Zhen และคณะ 1992 ; Li และคณะ 1996) ถั่งเช่ายังปกป้องไตของหนูทดลองที่ถูกชักนำจากยา spo, ไซโคล, ริน ทำให้เกิดโรคไตวายเฉียบพลัน (ยาที่ถูกนำมาใช้กดภูมิคุ้มกันฯ ในการปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อป้องกันการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ) ทำให้ไตของหนูทดลองมีการกรองของเสียที่ดีขึ้นและลดความเสียหายของไต (Zhao และ Li 1993) ซึ่งสอดคล้องในผู้รับการปลูกถ่ายไตที่ทดลองโดย Xu และคณะ (1995) ในปี ค.ศ. 1994 Bao และคณะ ได้รายงานผลการทดลองว่าถั่งเช่าช่วยป้องกันไตของผู้ป่วยที่ถูกทำลายจากความเป็นพิษของยา KA.ซิน,AMI, sul.phate โดยตรวจเช็คจากค่าเอนไซม์ glyco,sidase, nephro อะมิโน และ macro,glo.บูลิน ในปัสสาวะ

สารสกัดถั่งเช่าช่วยปรับปรุงให้การทำงานของไตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญผ่านทางกิจกรรมช่วยทำให้เซลล์แข็งแรงไม่เสื่อมสภาพง่ายและต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตในหนูซึ่งผ่านการขาดเลือด 60 นาทีและเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอต่ออีก 3 วัน (Shahed และคณะ 2001) อีกกลไกหนึ่งที่ถั่งเช่าช่วยปกป้องไตมาจากผลการยับยั้งต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ mesangial (ต่อมน้ำเหลืองบริเวณ glomerulus บริเวณที่กรองเลือดขั้นแรก อยู่ที่จุดเริ่มต้นของหน่วยไต) หากเส้นโลหิตที่ไตตีบจะทำให้เกิดการเพิ่มของเซลล์ mesangial ที่จะส่งผลให้คุณสมบัติของความเป็นเซลล์กล้ามเนื้อเรียบถูกขัดขวางจากการทดลองใช้ถั่งเช่าที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ทำให้เซลล์ mesangial ในมนุษย์ที่กระตุ้นด้วย LDL (low-density lipoprotein) เพื่อให้เซลล์เพิ่มขนาด มีขนาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (Wu และคณะ 2000) ทำให้เป็นอันตรายต่อไตน้อยลง นอกจากนี้ถั่งเช่ายังสามารถปกป้องไตจากยา ริน A – ,ไซโคล spo ที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อไตเรื้อรัง โดยการช่วยลดค่ายูเรียไนโตรเจนในเลือดให้ต่ำลง (BUN) ลดการเกิดพังผืด ลดอาการบวมน้ำ และลดการตายเฉพาะส่วนของเซลล์ไต (Wojcikowski และคณะ 2006)

นอกจากนี้สารสกัดโดยใช้น้ำของถั่งเช่ายังช่วยในการลดกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ที่มากเกินไปในเซลล์ท่อไต (Ng และ Wang 2005; Li และ Yang 2008a) และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ในหนูที่มีปัญหาไตวายเรื้อรังด้วย (Cheng 1992)

จากการทดลองทางการแพทย์ได้แสดงให้เห็นหลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับการใช้ถั่งเช่าเป็นยาป้องกันและรักษาไต (Wojcikowski และคณะ 2004, 2006) ตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยถั่งเช่าช่วยให้คนที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีอาการดีขึ้นจากการที่ร่างกายปฏิเสธการปลูกถ่ายไต การทำงานของไตและตับดีขึ้นควบคุมมิให้ไขมันในเลือดสูง และโปรตีนในเลือดต่ำ ลดการติดเชื้อในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต และการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดที่ไขสันหลัง (Sun และคณะ 2004; Li และคณะ 2009) ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่บริโภคผลิตภัณฑ์ถั่งเช่ามีการทำงานของไตดีขึ้น มีค่า creatinine และ BUN ลดลง ในขณะที่แคลเซียมและค่าโปรตีนในเลือดเพิ่มขึ้น (Feng และคณะ 2008)

ภาวะไตอักเสบยังพบได้บ่อยในโรคลูปัส

ผลของถั่งเช่าต่อคนไข้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

จากการศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคไต 69 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่รับประทานถั่งเช่า วันละ 3 กรัมร่วมกับยา ไซโคล,spo.ริน (เป็นยาที่สกัดจากเชื้อรา Toly po cladium ในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งใช้เป็นยาสำหรับป้องกันการปฏิเสธอวัยวะใหม่) เป็นเวลา 15 วัน พบว่าไตเสียหายน้อยกว่ากลุ่มที่รับเฉพาะยา ไซโคล,spo.ริน ซึ่งวัดได้จากค่า NAS ในปัสสาวะ คลีเอตินิน (creatinine) และยูเรีย ไนโตรเจนในเลือด (Xu และคณะ 1995)

ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : treatments-for-kidney-disease-cured.blogspot.com

ปรึกษาขนาดการรับประทานถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย CORDYTHAI อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์


ถั่งเช่า ม.เกษตร


ถั่งเช่า ม.เกษตร ซื้อที่ไหน

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย CordyThai ม.เกษตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม