ถั่งเช่า ม.เกษตร คอร์ดี้ไทย ตับแข็ง ตับอักเสบ

ตับคืออวัยวะที่อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม ถือเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่

  • ทำลายสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่นยา หรือ เชื้อโรค
  • สร้างสิ่งที่มีประโยชน์ เช่นการผลิตสารชีวเคมีต่างๆ ที่ช่วยในการย่อยอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
  • ทำหน้าที่เป็นคลังสะสมอาหาร (เช่น ไขมัน แป้ง และ โปรตีน) และปล่อยมาใช้เมื่อร่างกายต้องการ

นอกจากนี้ตับยังถือเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายอีกด้วย มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมตาบอลิซึม(Metabolism) หลายอย่างในร่างกาย เช่น การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม และการผลิตฮอร์โมน เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับคือ

  1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือไวรัสตับอักเสบ ชนิด A ชนิด B และชนิด C
  2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. โรคอ้วน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
  4. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด (เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาบางชนิดที่ใช้รักษาวัณโรค) หรือสารพิษบางชนิด (เช่น สมุนไพรบางชนิด หรือ เห็ดพิษ)
  5. การติดเชื้ออื่นๆ นอกเหนือจากเชื้อไวรัส เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อสัตว์เซลล์เดียว เช่น โรคพยาธิใบไม้ตับ และฝีในตับ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดที่เกิดจากท่อน้ำดี
  6. โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  7. พันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก และมักพบว่าเกิดตั้งแต่เป็นเด็ก เช่น โรค Hemo chromatosis (โรคที่มีธาตุเหล็กไปจับในตับมากเกินปกติจนเป็นสาเหตุให้ตับสูญเสียการทำงาน) เป็นต้น
  8. โรคมะเร็ง ทั้งชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และชนิดที่เกิดจากเซลล์ตับเอง แล้วแพร่กระจายตามกระแสเลือดมาสู่ตับ

ในประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับ ที่สำคัญที่สุด คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองลงไปคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

อาการของโรคตับ มีได้หลายอาการขึ้นกับสาเหตุ ได้แก่

  1. เจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือเจ็บ/ปวดบริเวณท้องด้านขวาตอนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ
  2. คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  3. อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  4. ตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน)
  5. อุจจาระสีซีด ร่วมกับปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
  6. ท้องมาน หรือมีน้ำในท้อง มักพบร่วมกับอาการบวมที่เท้า
  7. ในรายที่เป็นมาก ลมหายใจอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ (กลิ่นของสารตกค้างในร่างกาย เช่น สารในกลุ่มที่เรียกว่า ketone) มีอาการ มือ เท้า กระตุก และมือสั่น มีอาการสับสน อารมณ์แปรปรวน

วิธีตรวจดูการทำงานของตับโดยแพทย์นั้น จะใช้การวินิจฉัยโรคของตับจาก ประวัติอาการเจ็บป่วยต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงประวัติการใช้ยาต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดที่เรียกว่า การตรวจ LFT (Liver function test) การตรวจอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. การตรวจวัดหาความผิดปกติของตับ โดยดูค่าการทำงานหรือค่าเอนไซม์(Enzyme ) ของตับ ได้แก่การวัดระดับเอนไซม์ AST (aspartate aminotransferase) และ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเดิมเรียกกันว่า SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transferase) และ SGPT (Serum Glutamic Pyruvate Transferase) เอนไซม์ 2 ตัวนี้จะมีระดับสูงขึ้นเมื่อเซลล์ตับถูกทำลายในภาวะตับเกิดอันตรายเฉียบพลัน เช่น โรคตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสระดับ ASTและ ALT จะสูงกว่าปกติเป็นร้อยหรืออาจสูงถึงพันหน่วย/ลิตรได้ (ค่าปกติประมาณ 40 หน่วย/ลิตร) ในโรคตับแข็ง หรือตับอักเสบเรื้อรัง ระดับเอนไซม์ 2 ตัวนี้จะไม่สูงมาก ประมาณ 2-3 เท่าของค่าปกติ และมักไม่สูงเกิน 100-300 หน่วย/ลิตร ระดับเอนไซม์ 2 ตัวนี้ มีประโยชน์ ในการติดตามผลการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส ระดับเอนไซม์ AST และ ALT อาจตรวจพบสูงกว่าปกติได้เล็กน้อย จากสาเหตุที่ไม่ใช่โรคตับ เช่น จากยาบางชนิดเป็นต้น

การตรวจวัดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่จริงๆ ของตับ

นิยมใช้ 2 วิธี ได้แก่

  1. การวัดระดับอัลบูมิน(albumin) ในเลือด (ค่าปกติ 5-5 กรัม/เดซิลิตร)
  2. การวัดเวลาการแข็งตัวของเลือด

อัลบูมิน(albumin) เป็นโปรตีนสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับ ดังนั้นถ้าระดับอัลบูมิน(albumin) ลดลงโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ขาดอาหาร ก็สามารถบ่งชี้ถึงสภาพหน้าที่ของตับที่เสื่อมลง ส่วนการวัดเวลาการแข็งตัวของเลือดนิยมเรียกกันว่า PT (Prothrombin time) คือส่วนประกอบที่เป็นโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวที่สร้างขึ้นโดยตับ ผู้ป่วยโรคตับที่ตับเสื่อมสภาพ การทำหน้าที่สร้างโปรตีนเหล่านี้จะลดลงทำให้เลือดที่ออกใช้เวลาแข็งตัวนานขึ้น

การตรวจเลือดดูหน้าที่ของตับอย่างอื่น ได้แก่บิลิรูบิน (Billirubin) เป็นสารสีเหลืองในน้ำดีซึ่งเมื่อมีระดับสูงในเลือดจะไปย้อมติดที่ผิวหนังและตาขาว เรียกว่าเกิดดีซ่าน บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดง เวลาเลือดไหลผ่านตับ ตับจะเก็บบิลิรูบินออกจากกระแสเลือด และขับออกทางน้ำดี เมื่อเป็นโรคของตับหรือทางเดินน้ำดี หรือเม็ดเลือดแดงแตก ถูกทำลายจำนวนมากก็จะเป็นผลให้ระดับบิลิรูบินเพิ่มสูงขึ้นในเลือด ระดับบิลิรูบินในเลือดเป็นตัวบ่งชี้ถึงหน้าที่ของตับที่ดี เมื่อตับเสื่อมความสามารถในการขับบิลิรูบินออกจากกระแสเลือดเพื่อขับออกสู่น้ำดีก็จะลดลง

ในโรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง (autoimmune hepatitis) พบได้จากการตรวจภูมิต่อนิวเคลียสเซลล์ หรือภูมิต่อกล้ามเนื้อเรียบและระดับโปรตีนชนิดโกลบูลินในเลือดสูง (globulin เฉพาะ gamma globulin นั้นมีบทบาทด้านภูมิคุ้มกันโรค ทำให้โปรตีนตัวนี้ได้ถูกตั้งชื่อใหม่เป็น immunoglobulin) ค่าโกลบูลินของคนปกติจะอยู่ที่ 2.3-3.4 กรัม/เดซิลิตร

นอกจากนี้ อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย สิ่งผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพตับด้วย อัลตราซาวด์(ultrasound)  เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ(MRI) การฉีดสีตรวจทางเดินน้ำดีในตับ การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีในตับ และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รายงานการวิจัยถั่งเช่ากับโรคตับต่างๆ

ถั่งเช่าได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบและโรคที่เกี่ยวข้อง (Zhao 2000) การรักษาและการป้องกันโรคตับโดยถั่งเช่ามีหลายประการ คือ

ประการแรก ถั่งเช่ามีศักยภาพในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง (Gong และคณะ 2000) และจากโรคตับแข็งเรื้อรัง (Zhu และ Liu 1992)

ประการที่สอง ถั่งเช่าถูกนำมาทดสอบพบว่าสามารถยับยั้งและสลายไขมันพอกตับในหนูที่ถูกชักนำให้เป็นโรคตับแข็งโดยการให้ยา dime,ทิล.nitro,ซามิน (Li และคณะ 2006 a; Wang และคณะ 2008) โดยการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าถั่งเช่าสามารถยับยั้งการเพิ่มของสเตลเลตเซลล์ (stellate cell เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างพังผืดหรือเนื้อเยื่อระหว่างเซลล์ของตับ) (Chor และคณะ 2005) ลดการยึดเกาะของเซลล์ระหว่างโมเลกุลของพังผืด และ CD 126 (Classification Determinant : เป็นโปรโตคอลที่ใช้ตรวจสอบโมเลกุลเซลล์ผิวเพื่อทราบถึงภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงกับเป้าหมาย CD สำหรับมนุษย์จะมีหมายเลขสูงสุดที่ 364) ในเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของมนุษย์ (Li และ Tsim 2004) และลดการแสดงออกของ TGF-β (Transforming Growth Factor-β มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการไปกระตุ้น หรือยับยั้งการตอบสนองของเซลล์ต่างๆ ต่อสารกระตุ้นการเจริญชนิดอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการควบคุมการเปลี่ยนสภาพของเซลล์บางชนิดด้วย แต่หากเซลล์มีความผิดปกติเกิดขึ้น TGF-β ก็จะสูญเสียหน้าที่การทำงานไปด้วยทำให้เซลล์ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุมของร่างกายจนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งในท้ายที่สุด) และลดการแสดงออกของ platelet-driven growth factor (โปรตีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์และการแบ่งเซลล์) (Liu และ Shen 2003)

ประการที่สาม ถั่งเช่าช่วยลดระดับของปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid oxidation คือ ปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างออกซิเจนกับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทำให้เกิดสารที่ให้กลิ่นและรสที่ผิดปกติเรียกว่า การหืน) ในเซรุ่มและเนื้อเยื่อตับ และลดเซรุ่ม TNF-α ในหนูที่ถูกทำให้บาดเจ็บที่ตับโดยใช้วัคซีน BCG (Bacillus calmette – Guerin) ร่วมกับ LPS (Lipo poly saccharide เป็น endo) (TNF-α : Tumor Necrosis Factor Alpha ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลายขบวนการ เช่น ภูมิคุ้มกัน การอักเสบเป็นต้น) (Zeng และคณะ 2001)

จากผลการศึกษาถั่งเช่ากับการทำงานของตับในเกือบทุกการทดลองพบว่า ถั่งเช่ามีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ในซีกโลกตะวันออกหลายประเทศรู้จักใช้ถั่งเช่าร่วมกับยา vu.dine, ลามิ ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิด B และชนิดC และในการศึกษาหนึ่งพบว่า การใช้สารสกัดจากถั่งเช่าร่วมกับสารสกัดจากเห็ดชนิดอื่นให้ผลการรักษาที่ดี คือใช้เวลาน้อยกว่าการใช้ยา vu.dine, ลามิ เพียงอย่างเดียว (Wang และคณะ 2002) นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองที่ยืนยันว่าถั่งเช่ามีผลดีกับคนไข้ 33 คนที่มีปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบชนิด B เรื้อรังในด้านการปรับเมแทบอลิซึมของโปรตีน (Zhou และคณะ 1990)

Zhu และ Liu (1992) พบว่าการรับประทานถั่งเช่าช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเพิ่มระดับน้ำเหลืองในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะสุดท้าย ช่วยทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ต่อมา Siu และคณะ (2004) ได้ทำการทดลองให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กินสารสกัดจากถั่งเช่า 200 พีพีเอ็ม/วัน (200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 Kg.ต่อวัน) พบว่าถั่งเช่าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในตับ เพิ่มการเผาผลาญพลังงานที่ตับ ช่วยกระตุ้นการขนส่งอิเล็กตรอนในการผลิตพลังงานในการศึกษาของ Dai และคณะ (2001) พบว่าถั่งเช่าช่วยเพิ่มศักยภาพในการย่อยสลายพลังงานชีวภาพในตับของหนูทดลอง จากการค้นพบนี้อาจจะอธิบายประสิทธิภาพของถั่งเช่าในการช่วยเพิ่มความทนทานของร่างกาย และการบรรเทาความเมื่อยล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น ต่อมา Koh และคณะ (2003b) รายงานว่าสารสกัดถั่งเช่าโดยน้ำร้อนช่วยให้หนูทดลองว่ายน้ำได้ทนทานขึ้นและป้องกันความอ่อนล้าของหนูทดลองได้ด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กิน Liu และ Shen (2003) ศึกษาพบว่าถั่งเช่าช่วยให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำโดยการใช้คาร์บอนเตตราคลอไรด์(carbon tetrachloride)และเอทานอล(Ethanol) ให้เป็นโรคตับแข็ง (เป็นภาวะซึ่งเป็นผลที่เกิดจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ อาจเกิดขึ้นจากไวรัส  พิษสุราเรื้อรัง และไขมันพอกตับ) ผลปรากฏว่าหนูทดลองมีการพัฒนาเป็นตับแข็งช้าลง และการทำงานของตับดีขึ้นโดยยับยั้งการแสดงออกของทรานสฟอร์เมอร์โกรทแฟคเตอร์และโกรทแฟคเตอร์ที่ได้มาจากเกล็ดเลือด (หากโกรทแฟคเตอร์ของเซลล์ตับสูญเสียหน้าที่การทำงานจะทำให้เซลล์ตับไม่อยู่ในความควบคุมของร่างกายจนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งในที่สุด) และลดการสะสมของโพรคอลลาเจน ชนิดที่หนึ่งและสาม (procollagen I & III) ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ

ที่มา : หนังสือถั่งเช่า สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ภาพประกอบ : europeanpharmaceuticalreview.com

ปรึกษาขนาดการรับประทานถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย CORDYTHAI อนุสิทธิบัตรงานวิจัยร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์


ถั่งเช่า ม.เกษตร


ถั่งเช่า ม.เกษตร ซื้อที่ไหน

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย CordyThai ม.เกษตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะตับแข็ง ตับอักเสบ