ถั่งเช่า ม.เกษตร

ศ.ดร.มณจันทร์ เมฆธน อดีตหัวหน้าภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน (มก.) นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราปราบแมลงศัตรูพืช เจ้าของผลงานวิจัย สมุนไพรถั่งเช่า ภายใต้การสนับสนุนและบ่มเพาะธุรกิจของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย(CordyThai) หรือ ถั่งเช่า ม.เกษตร เปิดเผยถึงที่มาของงานวิจัยดังกล่าวว่าตนทำงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อราฆ่าแมลงในฐานะนักวิจัยของภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มากกว่า 20 ปี และในปี 2557 ได้เริ่มทำการวิจัยสมุนไพรถั่งเช่า ซึ่งเป็นเชื้อราฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งและบำรุง หลายชนิด เช่น

  • สารช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์
  • เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด
  • ต้านการแข็งตัว ของเลือด
  • นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ศ.ดร.มณจันทร์ เมฆธน กล่าวว่าตนและ ดร.ศุภกิจ เมฆธน นายชาญ เมฆธน และทีมวิจัย ได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยถั่งเช่าอย่างจริงจังและนำไปทดลองใช้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ผลการทดลอง

พบว่าผู้ป่วยมะเร็งฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและแข็งแรงขึ้น ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉายรังสีหรือให้คีโม

ต่อมาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้การสนับสนุนด้านสถานที่ ห้องทดลองในการค้นคว้าวิจัย และเป็นที่ปรึกษาด้านการผลิต จึงได้พัฒนาต่อยอดงานวิจัยจนสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมถั่งเช่าได้เป็นผลสำเร็จ และทำการจดอนุสิทธิบัตรเพื่อผลิตในเชิงการค้า ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย” หรือ “ถั่งเช่า ม.เกษตร” ในนามของบริษัทคอร์ดี้ไบโอเทค จำกัด โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำตลาดและการจัดจำหน่าย

โดยผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าได้ผ่านการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ การควบคุมปริมาณโลหะหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน การตรวจรับรองจุลินทรีย์ปนเปื้อน และมีการขึ้นทะเบียน อย.อย่างถูกต้อง ศ.ดร.มณจันทร์ อดีตหัวหน้าภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ได้กล่าวถึงบทบาทของอาจารย์ต่องานวิจัยดังนี้

หน้าที่ของอาจารย์ นอกจากการสอนก็คือการทำงานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาการเรียนการสอน และจะดีมากหากงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ก่อนจะวิจัยถั่งเช่าตนได้ทำงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อราและแบคทีเรียปราบแมลงศัตรูพืชเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี นอกจากนี้ยังรับวิจัยให้กับบริษัทเอกชนร่วมกับอาจารย์และนิสิตในภาควิชา ซึ่ง ตนมองว่าการวิจัยจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องทำงานเป็นทีม ในขณะเดียวกันต้องได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักวิจัยมีพื้นที่วิจัย มีห้องแล็บ มีเครื่องไม้เครื่องมือในการทำวิจัย ตลอดจนมีแหล่งบ่มเพาะและที่ปรึกษาสำหรับนักวิจัยที่อยากจะพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ คอยสนับสนุนและให้โอกาสอาจารย์ หรือ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เป็นศิษย์เก่าหรือนิสิต ที่กำลังเรียนอยู่และสนใจจะทำวิจัยและสร้างธุรกิจของตัวเอง ได้เข้ามาบ่มเพาะและเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองได้ โดยยอดขายที่ได้ 3% จ่ายคืนให้กับมหาวิทยาลัย และเมื่อธุรกิจเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายใน 5 ปี ก็จะออกไปสร้างธุรกิจของตัวเองข้างนอก มีคนใหม่เข้ามา หมุนเวียนกันไป

อยากจะให้นักวิจัยในบ้านเราทำงานวิจัยกันเยอะๆ และวิจัยแล้วต้องสามารถต่อยอดเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายในตลาด หรือเป็นงานวิจัยที่ประเทศชาติและสังคมได้รับประโยชน์ และงานวิจัยบางอย่างต้องอาศัยองค์ความรู้หลายๆ ด้าน ฉะนั้นต้องทำงานกันเป็นทีม ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่จะอีโก้สูง ทำวิจัยแล้วขึ้นหิ้งไม่สามารถเอางานวิจัยมาต่อยอดได้ นอกจากนี้จะต้องมุ่งมั่นตั้งใจ หมั่นค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

และถ้าอยากจะเป็นผู้ประกอบการของตัวเองด้วย จะต้องเรียนรู้เรื่องของธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ซึ่ง ศ.ดร.มณจันทร์ และทีมวิจัยถั่งเช่า เริ่มต้นจากการทดลอง เพาะเลี้ยง สกัดสาร จนมาเป็นผลิตภัณฑ์ ตอนนี้กำลังทำการวิจัยสเต็มเซลล์ในพืชเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอางและอาหารเสริม ที่ผ่านมาเรารับนักศึกษาปริญญาโทและโพสดอกเตอร์มาร่วมทำวิจัยด้วย นอกจากเขาจะได้ความรู้จากทีมวิจัยแล้ว ยังมีรายได้จากการทำงานวิจัยกับเราอีกด้วย ศ.ดร.มณจันทร์ กล่าวในตอนท้าย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.pandinthong.com/news-preview/381391791881

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนุนวิจัย ‘ถั่งเช่า’ สู่ผลิตภัณฑ์ใช้ศูนย์บ่มเพาะ