ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) หมายถึงการตื่นในตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป หรือการที่กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถรองรับน้ำปัสสาวะได้นานและมากเพียงพอ หรืออาจะเกิดจากปัจจัยอื่นหลายปัจจัยที่ทำให้ไปรบกวนการนอนหลับและส่งผลให้ไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างต่อเนื่อง อาการนี้มักพบในผู้สูงเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยเช่นเดียวกัน
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
ผู้ป่วยจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่าหนึ่งครั้งในช่วงเวลากลางคืน ส่งผลให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่องและอาจไปกระทบต่อระบบการนอนหลับด้วย เพราะโดยปกติแล้วคนเราควรนอนหลับต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงโดยไม่ตื่นขึ้นมากลางดึก
สาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
ปัจจัยที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนนั้น อาจมีตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมไปถึงการใช้ยาต่างๆ แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต การดื่มน้ำมากเกินไปช่วงใกล้เวลาเข้านอนจะทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งนี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ปวดปัสสาวะในตอนกลางดึก ซึ่งน้ำที่ดื่มอาจเป็นน้ำเปล่า เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อายุ ที่มากขึ้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง หรืออาจเกิดจากปัจจัยทางเพศด้วย เช่น ในเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นอาจเกิดภาวะต่อมลูกหมากโตไปเบียดกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้ปัสสาวะมากขึ้น หรือเพศหญิงที่อาจปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในช่วงวัยทอง เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- การใช้ยา สำหรับบางคนการใช้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้ เนื่องจากยาที่ใช้ได้ขับของเหลวออกมาจึงทำให้ผู้ใช้ยาปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะการใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์ที่รักษาอาจจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ยาเพื่อลดอาการปวดปัสสาวะบ่อย แต่ถ้าหากผู้ป่วยยังคงไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้ ควรรีบไปพบแพทย์
- อาการเจ็บป่วยหรือมีภาวะต่างๆ โดยทั่วไปแล้วอาการนี้มักจะเป็นเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือในกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้เกิดอาการแสบร้อนและปวดปัสสาวะตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้อีกด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป กระเพาะปัสสาวะหย่อน ต่อมลูกหมากโตหรือติดเชื้อ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคหัวใจล้มเหลว โรคเบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
- การตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกไปกดทับกระเพาะปัสสาวะจึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย
อาการเหล่านี้อาจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้ยาก แต่โดยปกติแล้วแพทย์จะเก็บข้อมูลการปัสสาวะของผู้ป่วยและปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกันในช่วงระยะเวลา 2 วัน เช่น พฤติกรรมการดื่มน้ำ พฤติกรรมและความถี่ในการปัสสาวะ ยาที่ใช้ โรคประจำตัว อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว อาการผิดปกติ รวมไปถึงระยะเวลาที่เกิดอาการดังกล่าวขึ้น เป็นต้น
เมื่อเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วแพทย์จะนำข้อมูลที่ได้ไปวินิจฉัยร่วมกับการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา โดยการตรวจด้วยวิธีต่างๆ ที่แพทย์อาจนำมาใช้มีดังนี้
- การส่องกล้องในทางเดินปัสสาวะ
- การตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ
- การวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจหาสารเคมีในเลือด
- การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจปัสสาวะในภาวะอดน้ำ (Fluid Deprivation Test)
- การถ่ายภาพทางรังสี เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT Scan) และการอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
วิธีรักษาอาการปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
การรักษาอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้งดดื่มเครื่องดื่มต่างๆ ก่อนนอน 2 – 3 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยก็ควรดื่มน้ำตามปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับร่างกายในแต่ละวันด้วย
หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจใช้ยาหรือทำการรักษาแบบอื่นต่อไป ดังนี้
การใช้ยารักษา กรณีนี้แพทย์จะพิจารณาให้ยาตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วย เพื่อช่วยลดการผลิตปัสสาวะในตอนกลางคืน และสำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการนี้จากการใช้ยาบางชนิด แพทย์อาจจะให้ใช้ยาชนิดนั้นก่อนเวลาตามปกติ
ตัวอย่างยาที่อาจนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
- ยาปฏิชีวนะ(antibiotics) ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ยาเดสโมเพรสซิน(desmopressin) จะช่วยให้ไตผลิตปัสสาวะในตอนกลางคืนน้อยลง
- ยากลุ่มแอนตีโคลิเนอร์จิก(anticholinergic) ใช้เพื่อบรรเทาอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
- ยาแทมซูโลซิน(tamsulosin) ยาฟิแนสเทอไรด์(finasteride) หรือยาดูทาสเตอไรด์(dutasteride) ใช้สำหรับรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า เป็นการควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะโดยการใช้กระแสไฟฟ้า โดยแพทย์จะฝังอุปกรณ์ขนาดเล็กบริเวณใกล้ก้นกบ เพื่อส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ
การผ่าตัด วิธีนี้จะใช้เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วอาการไม่หาย โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนด้วย
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนนี้ อาจไปกระทบต่อระบบการนอนหลับได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนี้
- มีอาการง่วงซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
- มีอาการเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า รู้สึกอ่อนเพลีย หรือเหนื่อยระหว่างวัน
- มีภาวะนอนไม่พอ ทำให้รู้สึกเหนื่อย อารมณ์ไม่ดี ฉุนเฉียวง่าย และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
วิธีป้องกันอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
เนื่องจากอาการนี้เกิดจากหลายสาเหตุ บางสาเหตุก็อาจป้องกันได้ แต่บางสาเหตุก็อาจป้องกันได้ยาก ดังนี้
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- หมั่นบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพราะอาจทำให้ควบคุมการปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้น
- ควรลดการดื่มน้ำก่อนเข้านอนประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวดปัสสาวะในตอนกลางคืน
- คอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม หรืออาจจดบันทึกเกี่ยวกับการดื่มน้ำในแต่ละวันเอาไว้ด้วย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ เช่น ช็อกโกแลต อาหารรสเผ็ด อาหารที่เป็นกรด หรือสารให้ความหวาน เป็นต้น
ปัญหาปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เกิดจากภาวะไตเสื่อม ปัจจุบันมีผลงานวิจัย โดย ศ.ดร. มณจันทร์ เมฆธน หัวหน้าภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำงานทดลอง โดยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน รับประทาน ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย ชนิดแคปซูล โดยขนาดที่รับประทานคือ ตอนเช้า 1 แคปซูล และ ก่อนนอน 1 แคปซูล ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดอาการปัสสาวะบ่อยลงได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากสมุนไพรถั่งเช่า มีสรรพคุณช่วยบำรุงและปรับสมดุลการทำงานของไตให้ทำงานได้ดีขึ้น
สอบถามข้อมูลโปรโมชั่นพิเศษ/สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย(CordyThai)
อนุสิทธิบัตร ร่วมกับ ม.เกษตร
ขอขอบคุณข้อมูล : pobpad.com
ภาพ : kapook.com
เรียบเรียงโดย : ถั่งเช่า ม.เกษตร (คอร์ดี้ไทย)